โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ แนะชุมชนโดยรอบโรงงานไฟไหม้ เขตลาดกระบัง ควรปฏิบัติตัวถูกวิธีเพื่อความปลอดภัย เหตุส่วนประกอบของแก๊สหลายชนิดก่อควัน ฝุ่นPM2.5 หรือสารพิษในระยะสั้น ทำเกิดการระคายเคือง หอบหืด เคืองดวงตาและผิวหนัง  หากมีอาการให้พบแพทย์ทันที

นายแพทย์อัครฐาน จิตนุนนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชน ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ และคำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพในสถานการณ์ไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์ และเม็ดพลาสติก 1. ควันจากสถานการณ์ไฟไหม้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ และ เม็ดพลาสติก อาจพบสารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จากการสัมผัสในระยะเฉียบพลัน  ตัวอย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO): ทำให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN): ทำให้เวียนศีรษะ หมดสติ มีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ  ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5): เมื่อสูดดม จะเกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ ฟอมัลดีไฮด์ เมื่อสูดดม จะมีอาการไอเจ็บคอ หายใจเหนื่อย ก๊าซแอมโมเนีย จะมีกลิ่นฉุน เมื่อสูดดม หรือได้รับการสัมผัส จะมีอาการระคายเคือง ตามผิวหนัง แสบตา เจ็บคอ ไอ หายใจเหนื่อย ฟอสจีนเมทิลแคปเทน สารอินทรีย์ระเหยง่าย  2. กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง   เด็กเล็ก   ผู้สูงอายุ  ผู้มีโรคปอด หัวใจ หรือภูมิแพ้  สตรีหญิงตั้งครรภ์ 3. อาการที่ควรสังเกต  แสบตา เจ็บคอ ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หากหายใจหอบ เหนื่อย หรือหมดสติ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที  4. วิธีดูแลตนเองเบื้องต้นหากยังอยู่ในพื้นที่: ปิดประตู หน้าต่าง ใช้ผ้าชุบน้ำปิดช่องลม เปิดเครื่องฟอกอากาศ (ถ้ามี) ใส่หน้ากากผ้าที่มีใส่ไส้กรองเป็นผงถ่าน หากต้องออกนอกบ้าน หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หากได้รับผลกระทบแล้วควร ล้างหน้าและร่างกายด้วยน้ำสะอาด  เปลี่ยนเสื้อผ้า ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ  หากมีอาการผิดปกติ ให้พบแพทย์ทันที 5. ข้อแนะนำเพิ่มเติม เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเรื้อรังควรย้ายออกจากพื้นที่ชั่วคราวหากมีควันหนาแน่น  หลีกเลี่ยงการนำอาหาร/น้ำที่วางไว้กลางแจ้งในช่วงเกิดเหตุ มารับประทาน ร่วมติดตามประกาศจากหน่วยงานราชการ และหน่วยกู้ภัยอย่างใกล้ชิด กรมการแพทย์มีความห่วงใยประชาชน จากสถานการณ์โรงงานไฟไหม้ดังกล่าวนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินกับโรงงานโดยตรงแล้ว ยังส่งผลโดยอ้อมกับประชาชนโดยรอบชุมชนแต่อาจไม่มากนัก จึงขอแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สวมหน้ากากอนามัยที่เสริมชั้นคาร์บอน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและกลิ่นของสารเคมีได้ อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนในพื้นที่ควรอยู่ในระยะที่ปลอดภัยตามคำเตือนของเจ้าหน้าที่ ถ้าพบว่ามีอาการระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา ทางเดินหายใจให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมขณะนี้เรามีสถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ที่พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนที่ประสบเหตุและประชาชนในพื้นที่โดยรอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องโดยสามารถติดต่อประสานงานหรือขอข้อมูลได้ที่ 0-2548-1000 ด้วยความห่วงใยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยา เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในชุมชน

#โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี #กรมการแพทย์ #ไฟไหม้                                                      ขอขอบคุณ   13 พฤษภาคม 2568

 



   


View 19    13/05/2568   ข่าวในรั้ว สธ.    กรมการแพทย์