สธ. นำนักการสาธารณสุขดีเด่น ประจำปี 2567 เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับพระราชทานรางวัลชัยนาทเรนทร
- สำนักสารนิเทศ
- 510 View
- อ่านต่อ
วันนี้(6 ตุลาคม 2554) ที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์และบริหารแผนงาน (Steering Committee) เพื่อการพัฒนาเครือข่ายระบาดวิทยาอาเซียน +3 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เป็นเจ้าภาพ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านระบาดวิทยาระหว่างประเทศ ในการเฝ้าระวังโรคโรคติดต่ออุบัติใหม่ และภัยสุขภาพด้านสาธารณสุข ภายใต้กรอบอาเซียน ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6- 7 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นไปตามมติ รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนเมื่อปี 2553 โดยมีผู้แทนของ 13 ประเทศได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากจะ บอกสัญญาณล่วงหน้าได้ว่ามีการระบาดของโรค ซึ่งหากแต่ละประเทศทำการเฝ้าระวังเฉพาะในประเทศของตนเองจะไม่ได้ผลดีเท่ากับมีการเฝ้าระวังร่วมกันทั้งภูมิภาคแบบเครือข่าย เนื่องจากโรคระบาดหลายโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อที่ระบาดจากสัตว์มาสู่คน อาจจะเกี่ยวข้องและมีผลกระทบกันทั้งภูมิภาค แต่หากทราบว่าประเทศใดเริ่มมีการระบาดของโรค และได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคระบาดเข้าสู่ประเทศไทย หรือหากมีการระบาด ก็จะมีน้อยที่สุดเพราะจะช่วยกันควบคุมได้ตั้งแต่เริ่มต้น
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในวันนี้ เป็นการจัดทำแผนเฝ้าระวังโรคติดต่อ โรคติดต่ออุบัติใหม่ ร่วมกันทั้งภูมิภาค รวมถึงจัดทำยุทธศาสตร์ 3-5 ปี เพื่อใช้เป็นแนวการทำงาน ซึ่งจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่าย มีการฝึกอบรมทางระบาดวิทยาภาคสนามให้กลุ่มประเทศสมาชิก โดยโรคที่จะทำการเฝ้าระวังร่วมกันส่วนใหญ่ เป็นโรคที่ติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ เช่นเชื้อไข้หวัดใหญ่ เอช 1 เอ็น 1(H1N1) ไข้หวัดใหญ่ 2009 และโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน เช่นโรคไข้หวัดนก ซึ่งโรคดังกล่าวอาจจะเกิดการระบาดขึ้นได้ตลอดเวลา
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการเฝ้าระวังโรค แต่ละประเทศจะใช้งบประมาณของตนเอง หากประเทศใดขาดนักระบาดวิทยาในการเฝ้าระวังโรค ประเทศไทยจะมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมให้ เพื่อกลับไปทำงานที่ประเทศของตนเอง เป็นการสร้างเครือข่ายอีกวิธีหนึ่ง ประเทศในเครือข่ายก็จะเร่งพัฒนากำลังคนของตนเองด้วยซึ่งจะทำให้เครือข่ายมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น ก้าวไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนร่วมกันในปี 2015
............................... 6 ตุลาคม 2554