สธ. เดินหน้าลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชน ฉีดวัคซีน HPV นักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาเพิ่มอีก 1 ล้านโดส ภายในปี 2568 พร้อมสร้างความตระหนักรู้การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- สำนักสารนิเทศ
- 190 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโครงการ“คนไทย 7.2 ล้านคน รู้ค่าความเสี่ยงโรคไต ภายใต้โครงการป้องกันโรคไตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” ค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงไตวายเรื้อรัง และคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไตและลดการเกิดภาวะไตวาย รวมทั้งสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพไต คาดช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ถึง 3 ล้านล้านบาท
วันนี้ (3 กรกฎาคม 2568) ที่ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดกิจกรรม Kick off โครงการคนไทย 7.2 ล้านคน รู้ค่าความเสี่ยงโรคไต ภายใต้โครงการป้องกันโรคไต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 คณะผู้บริหาร และอสม. เข้าร่วมกว่า 1,000 คน
นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมนำพระราโชวาทในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี คณะกรรมการบริหารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ความตอนหนึ่งว่า “การรณรงค์เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องอาหารและโภชนาการ ตลอดจนวิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรคไต เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตลงได้” มาดำเนินการ โดยจัดทำโครงการ “คนไทย 7.2 ล้านคน รู้ค่าความเสี่ยงโรคไตภายใต้โครงการป้องกันโรคไต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” เพื่อค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของไตและลดโอกาสการเกิดภาวะไตวายระยะสุดท้ายได้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพไตและเข้าถึงการตรวจคัดกรองอย่างทั่วถึง
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณ 1,120,000 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองเพื่อให้ รู้ค่าความเสี่ยงโรคไตตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้สามารถควบคุมและชะลอการดำเนินของโรค ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการรักษาและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไต เก๊าท์ และผู้ป่วยที่มีประวัติซื้อยาชุดหรือยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS กินเป็นประจำ ในทุกเขตสุขภาพ ซึ่งมีประมาณ 7.2 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อให้รู้ค่าความเสี่ยงและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพไต ช่วยลดผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตรายใหม่ ที่มีเฉลี่ยปีละ 17,000 ราย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตคนละ 220,000 - 280,000 บาทต่อปี และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระยะยาวได้ถึง 3 ล้านล้านบาท โดยนำร่องที่เขตสุขภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่แรก
**************************************** 3 กรกฎาคม 2568