สำนักจุฬาราชมนตรี - กรมอนามัย พัฒนาศักยภาพผู้นำทางศาสนาด้านสุขภาพกับ การพัฒนาสุขภาวะ สร้าง อส.มย.
- กรมอนามัย
- 62 View
- อ่านต่อ
สบส. หนุน อสม. อสส. เดินหน้าเชิงรุกกิจกรรมนับคาร์บ ในเขตเมืองและพื้นที่พิเศษ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เดินหน้าเชิงรุกชวนประชาชนในพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่พิเศษร่วมนับคาร์บ ให้ครบเป้าหมาย 50 ล้านคน ภายในปีงบ 2568
ดร.นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ตามที่ ภาครัฐมีนโยบายดึงศักยภาพของเครือข่ายสาธารณสุขทุกภาคส่วน มาร่วมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Disease : NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น กรม สบส. ซึ่งมีเครือข่ายภาคประชาชนอย่าง อสม. และ อสส. อยู่ในการดูแลกว่า 1.09 ล้านคน จึงจัดกิจกรรม “อสม. ชวนนับคาร์บ” ขึ้น โดยเริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ในการคำนวณปริมาณคาร์บที่ควรรับประทานแก่ อสม. เพื่อให้ อสม. 1 คน นำองค์ความรู้ที่ได้ไปส่งต่อแก่ประชาชน 50 คน ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50 ล้านคน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบ 3 หมอรู้จักคุณ กรม สบส. ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2568 แสดงให้เห็นว่าประชาชนได้รับการสอนนับคาร์บแล้วว่า 28.7 ล้านคน โดยในระยะเวลาประมาณ 5 เดือนที่เหลือ กรม สบส. จะเร่งสนับสนุนการดำเนินงานของ อสส. และ อสม.ทั่วประเทศ มุ่งให้คำแนะนำประชาชนในการนับคาร์บ โดยใช้แนวทางตามสูตรการคำนวณนับคาร์บก่อนและบันทึกข้อมูลที่ได้ลงในแอปพลิเคชัน “สมาร์ท อสม.” เป็นช่องทางหลัก รวมทั้ง ดำเนินการเชิงรุกลงพื้นที่เขตเมือง และพื้นที่พิเศษ อาทิ โรงงาน/คอนโดมิเนียม/หมู่บ้านจัดสรร ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้เรียนรู้วิธีการนับคาร์บจาก อสม. อสส. หรือเรียนรู้ด้วยตนเองและบันทึกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มสำรวจการนับคาร์บ ปี 2568 (https://3doctor.hss.moph.go.th/hsslowcarb)
ด้านนายแพทย์อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ประชาชนในเขตเมืองมักเผชิญกับภาระหน้าที่ที่เร่งรีบ ทำให้มีพฤติกรรมการทานอาหารแช่แข็ง อาหารจานด่วน หรือขนมขบเคี้ยว ที่นอกจากจะมีโภชนาการต่ำแล้ว ยังมีคาร์โบไฮเดรตที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการทานอาหารอย่างแป้งขาว ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำอัดลม ที่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและดูดซึมได้ง่าย จะส่งผลให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดมาก ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในหลอดเลือดและไต และด้วยปริมาณกล้ามเนื้อมีจำนวนจำกัดจึงเปลี่ยนน้ำตาลเหล่านี้ไปเก็บไว้ในรูปไขมันสะสม ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ การนับคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต เพื่อคำนวณปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อมิให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย จึงถือเป็นกุญแจสำคัญในการปรับพฤติกรรมสุขภาพประชาชนให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง