กรมควบคุมโรค ยกระดับกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2568 ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
- สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
- 41 View
- อ่านต่อ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมอโรคยาสถาน Health station @Temple ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาสุขภาวะผู้นำทางศาสนาอย่างยั่งยืน และประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
วานนี้ (28 ตุลาคม 2567) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาสุขภาวะผู้นำทางศาสนาอย่างยั่งยืน กรมอนามัย และมอบนโยบายและความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน พร้อมเปิดป้าย Health station @Temple และเยี่ยมชมอโรคยาสถาน และศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย ณ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ว่า กรมอนามัยได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ และสามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จอยู่หัว โดยพัฒนารูปแบบบริการ “Health station @ temple หรือ อโรคยาสถาน” คือ วัดส่งเสริมสุขภาพที่มีจุดบริการสร้างเสริมสุขภาพที่ตั้งอยู่ในวัด โดยพระสงฆ์ หรือประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีส่วนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขผ่านระบบ Digital Platform ผู้มารับบริการสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเบื้องต้น ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ได้รับความรู้สุขภาพและการดูแลตนเอง และเป็นช่องทางในการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพ
แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่อไป สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและพระสงฆ์ ทำให้เสี่ยงเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ ขอให้ศาสนิกชนเลือกใส่บาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ ได้แก่ ผัดผักรวมมิตร ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ผัดมะเขือยาว แกงเหลืองปลามะละกอ ข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดสี ปลา ไข่ ตับ นมรสจืด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้หลากหลายชนิดและสีตามฤดูกาล ผลิตภันฑ์ทางเลือกสุขภาพ เป็นต้น โดยลด ละ เลี่ยง เครื่องปรุงรส หวาน มัน เค็ม ได้แก่ อาหารกึ่งสำเร็จรูป แปรรูป อาหารหวาน น้ำปานะหวานจัด น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีกะทิ ขนมอบและเบเกอรี่ เครื่องปรุงรสเค็ม และอาหารหมักดอง ซึ่งใน 1 วัน น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนช้า เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา
“พระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไตเรื้อรัง ควรฉันข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น โดยฉันเนื้อสัตว์ในปริมาณที่พอเหมาะ ฉันผักสีอ่อน เช่น บวบ ผักกาดขาว ฟัก ตำลัง ควรเลี่ยงผักสีเข้ม เช่น กระถิน ฟักทอง ชะอม มะเขือเทศ มะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบขี้เหล็ก สะเดา สำหรับผลไม้ควรฉันผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น มังคุด เงาะ สับปะรด แอปเปิ้ล โดยเลี่ยงผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน กล้วย ลำไย ขนุน แตงโม มะละกอ เลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น นม ไข่แดง ถั่ว กาแฟ ชา น้ำอัดลม การเติม ปรุงอาหารรสเค็ม อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง สำหรับพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเกาต์ ควรฉันผัก ผลไม้ ไข่ ปลาบางชนิด นมและผลิตภัณฑ์นม ควรเลี่ยงอาหารที่มีผิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ปลาซาดีน ปลาดุก หอย ไข่ปลา สัตวืปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ยิดผักต้นอ่อน เช่น ชะอม กระถิน ยอดฟักแม้วยอดผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง น้ำต้มกระดูกซุปก้อน กะปิ อาหารทอด อาหารมัน น้ำอัดลม และถัวเมล็ดแห้ง ทั้งนี้ พระสงฆ์สามารถบริหารกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ดังนี้ 1) ท่าเริ่มต้น : ยืนหันหน้าเข้าบันได ถ้าเป็นพระสงฆ์สูงอายุควรจับราวบันไดไว้ หรือเก้าอี้ตัวเล็ก หรือกล่องไม้ที่แข็งแรง และ 2) ท่าปฏิบัติ : จากนั้นให้ก้าวเท้าขวาขึ้นบันได หรือกล่องไม้ แล้วตามด้วยก้าวเท้าซ้าย หลังจากนั้นถอยลงด้วยเท้าซ้ายแล้วตามด้วยเท้าขวา ทำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10-20 นาที ทำเพิ่มเวลาไปเรื่อย ๆ เท่าที่ทำได้จนรู้สึกเหนื่อย จะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ควบคุมภาวะโรคเรื้อรังต่าง ๆ ไม่ให้รุนแรงขึ้น และช่วยให้ระบบของร่ายกายต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติ เช่น ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ เป็นต้น” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 29 ตุลาคม 2567