กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาบริการรองรับการเติบโตของชุมชนชานเมืองอ.ไทรน้อยจ.นนทบุรี เปิดอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ ด้วยงบ47 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกลดความแออัด การเข้าถึงระบบบริการของผู้ป่วยในด้านต่างๆ พัฒนาบริการเชิงรุกมีทีมเครือข่ายสุขภาพในการดูแล ผู้สงอายุและผู้พิการในชุมชน

วันนี้ (20 กันยายน 2558)  ที่โรงพยาบาลไทรน้อย  .นนทบุรี  นายแพทย์ณรงค์  สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดอาคารอำนวยการผู้ป่วยนอกขนาด 4 ชั้น งบก่อสร้าง 47 ล้านบาท จากกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดและทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพิ่มศักยภาพโรงพยาบาล และมอบโล่ให้ประชาชนที่บริจาคเงินพัฒนาพื้นที่บริการ 4 ล้านบาท

นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า  อำเภอไทรน้อย นนทบุรีเป็นชุมชนชานเมืองที่ขยายตัวรวดเร็ว ใหญ่กว่าพื้นที่อื่นๆ ประมาณ 2 เท่าตัว  ีประชาชนประมาณ 1แสนคน เป็นประชาชนในพื้นที่ 80,000 คน ที่เหลือเป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาทำงาน มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ประมาณร้อยละ 15 ของประชากรในพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งพัฒนาระบบบริการให้เหมาะสม อาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่นี้ สามารถรองรับบริการลดความแออัดผู้รับบริการ เพิ่มความคล่องตัวการบริการมีพื้นที่บริการกว้างขวางขึ้น มีห้องตรวจ 7 ห้อง ีคลินิกเฉพาะโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต หอบหืด คลินิกฝากครรภ์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ธนาคารเลือด และมีห้องพิเศษผู้ป่วย ส่วนอาคารผู้ป่วยนอกหลังเดิม ได้พัฒนาเป็นห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และห้องจ่ายยา  ขณะนี้ ได้จัดบริการทำฟันเทียมผู้สูงอายุได้รวดเร็วขึ้น จากเดิมรอคิว 24 เดือน ลดระยะเวลาเหลือไม่เกิน 6 เดือน

     ด้านแพทย์หญิงมาลี สิริสุนทรานนท์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไทรน้อย กล่าวว่า  โรงพยาบาลไทรน้อย เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60เตียง  ีแพทย์ประจำ 6 คน แพทย์หมุนเวียน 2 คน ทันตแพทย์ 7 คน เภสัชกร คน นักกายภาพ 4 คน และเจ้าหน้าที่อื่นรวม 185 คน ีผู้ใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ยปีละ140,000 คนเฉลี่ยวันละ 450 คน  ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และกลุ่มโรคเรื้อรังได้แก่เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทันตกรรม และฝากครรภ์ และเป็นผู้ป่วยในปีละ 3,700 คน เฉลี่ยวันละ 45 คน  

          ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯ มุ่งเน้นการพัฒนาบริการ ทั้งในโรงพยาบาลและบริการเชิงรุกลงสู่ชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ลดจำนวนผู้เจ็บป่วย โดยเฉพาะจากโรคเรื้อรัง โดยจัดทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบั เยี่ยมบ้านเพื่อดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในชุมชน และพัฒนาคลินิกโรคเรื้อรังใกล้บ้านใกล้ใจ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง คุณภาพทัดเทียมกับโรงพยาบาลชุมชน ที่ผ่านมาโรงพยาบาลไทรน้อย ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพบริการด้านต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว  ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดีเด่น โรงพยาบาลคุณภาพ(HA) และรางวัลโรงพยาบาลพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอดีเด่นของเขตสุขภาพที่ 4 ของกระทรงสาธารณสุข

*********************************    20 กันยายน 2558



   
   


View 19    20/09/2558   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ