สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
- สำนักสารนิเทศ
- 675 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (10 พฤษภาคม 2556) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำเครือข่ายบริการที่ 12 ประชุมการเตรียมความพร้อมของสถานบริการสาธารณสุข เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
นายแพทย์ชลน่านกล่าวว่า รัฐบาลได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุข ประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ศูนย์แพทย์ทหารบกชายแดนใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) จัดทำแผนรองรับผู้บาดเจ็บ 4 ด้าน ได้แก่ การกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยและความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ มาตรฐานระบบส่งต่อ การดูแลผู้ประสบภัยอย่างเป็นรูปธรรม และการจัดบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า ตามแผนการรองรับผู้บาดเจ็บดังกล่าว ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสั่งการด้านสาธารณสุขที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จ.สงขลา ทำหน้าที่ประสานการส่งต่อผู้ป่วย และเตรียมความพร้อมของสถานบริการทางการแพทย์ทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขตตลอด 24 ชั่วโมง สามารถระดมทีมแพทย์จากโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง และโรงพยาบาลทั่วไปในแต่ละจังหวัด รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์ภายในเขต พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ออกไปช่วยเหลือที่โรงพยาบาลชุมชนในที่เกิดเหตุ หากเกิดกรณีมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก โดยมอบให้โรงพยาบาลชุมชนทำหน้าที่เป็นห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทำผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อนได้ เพื่อรักษาชีวิตและอวัยวะ และให้ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สำรองเตียงร้อยละ 5 เพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบได้ตลอดเวลา
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการส่งต่อผู้ป่วยจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยจะติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารทางการแพทย์ประจำรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงทุกคัน สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยขณะนำส่งไปโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ที่เป็นศูนย์รับส่งดูแลต่อ ได้แก่ รพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาส รพศ.ยะลา รพศ.หาดใหญ่ และรพ.ศรีนครินทร์ เพื่อรายงานข้อมูลและภาพผู้ป่วยที่เป็นปัจจุบัน (real time medical monitor) ให้ทีมแพทย์ในรพ.ปลายทางเตรียมการช่วยเหลือ ตั้งแต่ที่ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยหนัก หรือเตียงรองรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที กรณีที่จำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อนำส่งผู้ป่วยและทีมแพทย์จากหน่วยงานข้างเคียงได้ ทั้งจากศูนย์แพทย์ทหารบกชายแดนใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ทั้งในส่วนของกองทัพบก กองทัพอากาศ หรือจากกองบินสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมทำบันทึกข้อตกลงในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน นำส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม อย่างรวดเร็วที่สุด
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2556 ตั้งแต่มกราคม-เมษายน ผ่านมา 4 เดือน โรงพยาบาลในพื้นที่ 37 แห่งของกระทรวงสาธารณสุขได้ออกปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ 208 ครั้ง ใช้เวลานำส่งเฉลี่ยประมาณ 30 นาที ร้อยละ 99 นำส่งโดยรถพยาบาล
*************************************** 10 พฤษภาคม 2556