“สมศักดิ์” เผย เขตสุขภาพที่ 8 สร้างรายได้จากนวดไทยกว่า 110 ล้านบาท/ปี ชู “สกลนครโมเดล” เพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย
- สำนักสารนิเทศ
- 80 View
- อ่านต่อ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการเปิดการค้าเสรีไทย-อาเซียน ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าประเภทปลาและผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่วยในประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้คนไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) คุมเข้มด้านความปลอดภัยอาหารนำเข้าดังกล่าวอย่างเข้มงวด ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ตามกฎหมาย 4 ฉบับได้แก่1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน และประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 273 พ.ศ. 2546 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ 2) 2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง 3.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 303 พ.ศ. 2550 เรื่องอาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง และ 4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค หากพบไม่ได้มาตรฐานให้ดำเนินการทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลานำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาตีตลาดปลาไทยด้วย นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า การนำเข้าสินค้าประเภทอาหารมาจำหน่ายในประเทศ ผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าอาหารจากอย. และต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยา เพื่อสุ่มตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานทุกครั้งอย่างเข้มงวด เช่นโลหะหนักต่างๆอาทิสารปรอท สารตะกั่ว เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และฟอร์มาลิน เป็นต้น หากตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปลอดภัย จะดำเนินคดีกับผู้นำเข้าตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในการนำเข้าครั้งถัดไป สินค้าจะถูกนำเข้าระบบกักกันด้วยการอายัดไว้ 3 ครั้งติดต่อกัน พร้อมทั้งทำการสุ่มตัวอย่างส่งตรวจคุณภาพมาตรฐาน หากสินค้าได้มาตรฐานและปลอดภัย จึงจะถอนอายัดให้จำหน่ายได้ แต่หากไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปลอดภัย จะส่งสินค้ากลับคืนประเทศต้นทางหรือทำลายสินค้าดังกล่าวทั้งหมด ********************************** 14 กุมภาพันธ์ 2553