กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ ภาคเอกชน ยกระดับมาตรฐานตรวจวิเคราะห์ไมทราไจนีน สนับสนุนกระท่อมไทยสู่ตลาดโลก
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 22 View
- อ่านต่อ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครองควรใส่ใจ สุขอนามัยให้แก่เด็ก ในหน้าร้อนที่มักเกิดโรคในเด็ก เช่น โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กและฮีทสโตรก โดยปรุงอาหารที่สุกใหม่
รักษาความสะอาดร่างกาย หลีกเลี่ยงการอยู่ในอากาศที่ร้อนจัด และอากาศไม่ถ่ายเท
นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงต้นเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อุณหภูมิสูง เชื้อโรคต่างๆสามารถเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะปะปนมากับอาหารและน้ำดื่ม พ่อแม่ผู้ปกครองระมัดระวังเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กให้มากที่สุด เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิต้านทานร่างกายที่น้อยกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวต่อว่า โรคหน้าร้อน
ที่พบบ่อยในเด็กมีมากมาย เช่น โรคท้องร่วง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตรซัว พยาธิ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคเข้าไป โดยจะพบอาการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน
และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ติดเชื้อในเลือดเสี่ยงต่อการคุกคามถึงชีวิตได้ โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากเชื้อต่างๆที่มาจากพิษแบคทีเรีย เชื้อรา หรือสารเคมีที่ปนเปื้อน มักพบได้จากอาหารที่ไม่สุกสะอาด อาการมีไข้ ปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน อาการของโรคคือ ผิวหนังจะแห้ง คันมาก
และไวต่อสารภายนอกที่มาสัมผัส ทำให้มีผื่นขึ้นในลักษณะเป็นๆหายๆ การป้องกันทำได้โดย เลือกสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม
ใช้สบู่อ่อน และใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อให้ผิวเกิดความชุ่มชื้น โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก เกิดจากอากาศที่ร้อนเกินไปจนทำให้ร่างกายปรับสมดุลอุณหภูมิไม่ได้ จนอาจเกิดอาการฮีทสโตรก อาการที่พบได้แก่ ปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัวหายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจจะช็อกจนเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรระมัดระวังในเรื่องสุขภาพ และความสะอาดให้แก่เด็กๆ โดยมีหลักสำคัญคือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ รักษาความสะอาดของร่างกาย หลีกเลี่ยงอากาศร้อน หากร้อนมากควรพยายามลดความร้อน โดยอาบน้ำ เปิดแอร์ เปิดพัดลมให้บุตรหลานให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดื่มน้ำมากขึ้นในวันที่มีอากาศร้อนจัดเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ และดูแลสุขอนามัยเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคในหน้าร้อน
******************************************
-ขอขอบคุณ-
17 เมษายน 2567