“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 368 View
- อ่านต่อ
เช้าวันนี้ (9 พฤศจิกายน 2560) ที่โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมนานาชาติทางด้านมนุษย์พันธุศาสตร์แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12 (12th Asia-Pacific Conference on Human Genetics : APCHG 2017) จัดโดยสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กระทรวงสาธารณสุข สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย สมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (ไทย) สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีแพทย์ นักวิทยาศาสตร์และนักพันธุศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 8 ประเทศจำนวน 500 คนเข้าร่วมประชุมได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และไทย เป็นเวทีแลกเปลี่ยนวิชาการด้านมนุษย์พันธุศาสตร์ ประสบการณ์และความคิดเห็นจากแต่ละประเทศ สร้างความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมมนุษย์ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันดับหนึ่งคือทารกแรกเกิด สาเหตุมาจากทารกเกิดก่อนกำหนดร้อยละ 37.5 รองลงมาคือทารกมีความพิการแต่กำเนิดร้อยละ 23.9 โดยในปี 2002 (2545) ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมของคนสำเร็จ ทำให้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการนำข้อมูลพันธุกรรมมาใช้ป้องกันโรค ปัจจุบันมีการให้บริการตรวจพันธุกรรมตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ สามารถนำข้อมูลพันธุกรรมมาใช้เลือกยาที่เหมาะสมกับคนไข้ ซึ่งการใช้ข้อมูลพันธุกรรมจะถูกนำมาใช้ในระบบสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีบริการสาขาทารกแรกเกิด กำหนดไว้ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข หรือ Service Plan อาทิ การฝากครรภ์คุณภาพและห้องคลอดคุณภาพ การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด และการป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยโฟลิกในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งไทยจะต้องนำความรู้เหล่านี้มาใช้ในการพัฒนานโยบาย Thailand 4.0 โดยเน้นการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ เพื่อให้เด็กไทยมีสุขภาพดี เข้าถึงการป้องกันโรคทางพันธุกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่าตามบริบทของประเทศไทย คาดว่าในอนาคตการให้บริการตรวจทางพันธุกรรมจะมีบทบาทมากขึ้นในการให้บริการทางการแพทย์
นอกจากนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลทารกป่วยและพิการในระดับประเทศ ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทารกป่วยให้รอดชีวิต ให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยศูนย์ดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นหนึ่งในหลายผลงานที่เป็น Service Champion ของกรมการแพทย์ที่พร้อมดูแลประชาชน
****************************************** 9 พฤศจิกายน 2560