สธ. มอบกรมอนามัย สนับสนุนชุดสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และชุดทดสอบภาคสนามด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เสริมทีมสาธารณสุขช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศเมียนมา
- กรมอนามัย
- 34 View
- อ่านต่อ
วานนี้ (13 เมษายน 2568) นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวถึงสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ที่พบสาเหตุจากการหลับในที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาททำให้เกิดอาการง่วงและหลับใน กรมควบคุมโรค จึงขอให้คำแนะนำประชาชนที่จำเป็นต้องใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง มีความเสี่ยงต่อการหลับใน หลีกเลี่ยงการขับขี่
นายแพทย์ภาณุมาศ กล่าวว่า ยาหลายชนิดมีฤทธ์ทำให้ง่วงซึม หากขับขี่หลังรับประทานยา จะเสี่ยงต่อการหลับในและการตัดสินใจจะช้าลงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้สูง จึงขอให้คำแนะนำประชาชน หากรับประทานในกลุ่มยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาโรคซึมเศร้า ยากันชัก ยารักษาอาการปวดเส้นประสาท เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin) ยาแก้ปวดอย่างแรง เช่น มอร์ฟีน, ทรามาดอล (Tramadol), โคเดอีน (Codeine) ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยาบาโคลเฟน (Baclofen), โทลเพริโซน (Tolperisone), (โอเฟนนาดรีน) Orphenadrine ยาแก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูก เช่น ยาคลอเฟนนิรามีน (Chlorpheniramine), ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ยาแก้ไอทั้งแบบเม็ดและยาน้ำ ที่มีส่วนผสมของ โคเดอีน (Codeine) หรือ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ยาแก้เมารถ เมาเรือ ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ยาต้านอาการท้องเสีย (Loparamine) ไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรขณะใช้ยา
นายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวว่า อาการง่วงจากยามักไม่ได้เกิดทันทีหลังกินยา แต่มักเกิดขึ้นภายใน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา และอาการง่วง มักมีอาการต่อเนื่องต่ออีกหลายชั่วโมงขึ้นอยู่กับชนิดของยา ดังนั้นหากรับประทานควรหลีกเลี่ยงการขับรถในระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ นอกจากกฤทธิ์ของยา สภาพร่างกายในช่วงที่เจ็บป่วยไม่สบาย จะอ่อนเพลีย อ่อนล้าได้มากกว่าปกติ ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการหลับในเมื่อไปขับรถได้สูง โดยเฉพาะการขับขี่ระยะทางไกล จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่เช่นกัน
แพทย์หญิงศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ ได้กล่าวว่า ตัวอย่างยาข้างต้นเป็นยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย แต่ยังมียาอีกหลายชนิดที่มีต่อจิตประสาททำให้ง่วงได้เช่นกัน ทั้งนี้ ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อได้รับยา รวมทั้งควรอ่านฉลากยาก่อนกินยา จะมีคำแนะนำ ข้อควรระวังหรือผลข้างเคียงของยา หากสงสัยเรื่องยา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เภสัชกรหรือแพทย์ใกล้บ้าน หรือ สายด่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โทร. 1556 สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
********************************
ข้อมูลจาก : กองป้องกันการบาดเจ็บ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 14 เมษายน 2568