กรมการแพทย์แนะแนวทางดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5
- กรมการแพทย์
- 34 View
- อ่านต่อ
องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2593 สัดส่วนผู้สูงอายุทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.1 หรือประมาณ 2 พันล้านคน โดยที่ประเทศไทยนั้นได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged society) มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2565 นั่นคือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าราวปีพ.ศ.2575 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super aged society) เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เพราะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนคนในประเทศ อีกทั้งมีการเพิ่มขึ้นของประชากรเพียง 0.18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราจะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และหนึ่งในนั้นคือโรคข้อเข่าเสื่อม
นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ล่าวว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานเพราะความเจ็บปวด มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มทำให้กระดูกหักได้ การรักษาโรคดังกล่าวทำได้หลายวิธี แต่เมื่อโรคเข่าเสื่อมได้เข้าสู่ระยะสุดท้ายหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว วิธีสุดท้ายที่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้และสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้ใกล้เคียงปกติ คือการรักษา ด้วยการ “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม” ซึ่งการผ่าตัดดังกล่าวสามารถทำได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การผ่าตัดด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม (Conventional Total Knee Arthroplasty) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการผ่าตัด (Navigation assisted Total Knee Arthroplasty) และนวัตกรรมล่าสุดที่มีในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Robotic assisted Total Knee Arthroplasty)
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการผ่าตัดว่า เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยแพทย์ในการผ่าตัด โดยข้อมูลที่สำคัญของกระดูกหัวเข่า ของผู้ป่วยจะได้รับการบันทึกและแปลผลอย่างแม่นยำ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงทำให้การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนหรือต้องทำในตำแหน่งที่เข้าถึงยากมีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพสูง ทั้งยังลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดที่ไม่พึงประสงค์ในอนาคตได้ เช่น ลดโอกาสข้อหลวมหรือข้อทรุดหลังผ่าตัด ที่อาจส่งผลให้ต้องกลับมาผ่าตัดแก้ไข
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่ชื่อว่า CORI มาช่วยในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการผ่าตัดทั้งหมดโดย นายแพทย์เจริญวัฒน์ อุทัยจรัสรัศมี นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ ซึ่งได้ทำการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยไปมากกว่า 200 รายในช่วงเวลาดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้คือความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลง และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดด้วยวิธีดังกล่าวเลย ซึ่งสิ่งนี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาประยุกต์ ใช้กับการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อีกทั้งเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นในระยะยาว
*************************************************
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี #การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม #เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการผ่าตัด
- ขอขอบคุณ - 8 มกราคม 2568