“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 420 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุขเผย แต่ละปีพบผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งจากการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ 4 ล้านคน ทีมฉุกเฉินต้องออกให้บริการ 1 ล้านกว่าครั้ง จับมือองค์กรท้องถิ่นภาคเอกชน พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ให้มีศักยภาพและเพียงพอให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.สายด่วน1669 พร้อมให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (17 มีนาคม 2559) ที่ โรงแรมมณเฑียร กทม. ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดประชุมเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินระดับภูมิภาคและท้องถิ่นปี 2559 มี ผู้รับผิดชอบงานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศกว่า 300 คนร่วมประชุม
ศ.คลินิก เกรียติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า การเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งจากโรคและอุบัติเหตุ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยฉุกเฉินประมาณ 4 ล้านคนต่อปี กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้เร่งพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ให้มีทีมกู้ชีพออกไปช่วยเหลือผู้ป่วยในที่เกิดเหตุหรือที่บ้าน ด้วยวิธีที่ถูกต้องตามมาตรฐานก่อนนำส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ทั้งนี้ การได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องจะช่วยลดและป้องกันการบาดเจ็บและพิการซ้ำซ้อนได้ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัฒนาระบบ ควบคุม กำกับ และตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งจดทะเบียนทีมปฏิบัติการ
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า ให้ทุกภาคส่วนนำนโยบายการแพทย์ฉุกเฉินไปพัฒนาต่อ โดยมีข้อเสนอ 5 ข้อคือ 1.ให้บูรณาการการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายให้ มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ด้านวิชาการ และบริหารจัดการ เพิ่มความครอบคลุมให้มากขึ้น ทั้งในพื้นที่ปกติ พื้นที่พิเศษ รวมไปถึงกลุ่ม ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้แต่ชาวต่างชาติ 2.บุคลากรต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้ได้มาตรฐาน และมีความพร้อมในการให้บริการประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ให้เจ้าหน้าที่มีขวัญกำลังใจ มีความปลอดภัย และมีความเจริญก้าวหน้าในสายงานที่ชัดเจน 3.พัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานการจ่ายงานจังหวัด ให้มีความพร้อม ทั้งในด้านบุคลากร อุปกรณ์และการบริหารจัดการ และเปิดโอกาสให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีส่วนร่วมในการดูแลประชาชนในพื้นที่ 4.พัฒนาระบบบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งผู้ป่วยวิกฤติได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพิ่มมากขึ้นในทุกจังหวัด 5.ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจในการแจ้งเหตุ และปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้ ก่อนทีมกู้ชีพฉุกเฉินจะมาถึงเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย
ด้านนายแพทย์อนุชา เศรษฐสเถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า จำนวนผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดในปี 2558 มีจำนวน 158,000 คน เป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ 129,331 คน และเป็นพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ พยาบาล แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มีรถพยาบาล 14,264 คัน เรือ 160 ลำ อากาศยาน 136 ลำ กระจายอยู่ครบทุกตำบล โดยปี 2558 ทั่วประเทศออกให้บริการประชาชน 1.3 ล้านกว่าครั้ง หากประชาชนต้องการแจ้งเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669 ซึ่งพร้อมให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
******************************************** 17 มีนาคม 2559