“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 442 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ห่วงภัยการบาดเจ็บจากการถูกเปลว สะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ ในเทศกาลลอยกระทง พบผู้บาดเจ็บรุนแรงต้องนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละ 600-700 คน พบมากช่วงวันออกพรรษา วันลอยกระทงและวันส่งท้ายปีเก่าขึ้นปีใหม่ กำชับโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับมือ 24 ชั่วโมง ชี้เฉพาะปี 2555 พบผู้บาดเจ็บ 756 ราย ตาย 4 ราย อายุต่ำสุดแค่ 2 ปี โดยร้อยละ 16 เมาเหล้า พบนิ้วขาด ร้อยละ 10
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์การเตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุช่วงฉลองเทศกาลลอยกระทงที่จะถึงในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2556 ว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเตรียมพร้อมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ให้พร้อมต่อการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งภัยที่มักพบเสมอในเทศกาลนี้ 3 เรื่อง คือ 1.การบาดเจ็บจากการเล่นดอกไม้ไฟ หรือเล่นพลุ ประทัด 2.จากอุบัติเหตุจราจร และ 3.การจมน้ำ หากประชาชนพบเห็นผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยกู้ชีพนเรนทร หมายเลข1669 ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับเทศกาลลอยกระทง ประชาชนนิยมเล่นพลุ และดอกไม้ไฟ ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายจัดอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง อาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย 3 ทางคือ ทางผิวหนัง นิ้วมือ และตา หากเกิดระเบิดขณะที่ใช้มือจุด จะทำให้นิ้วขาด หากเป็นพลุระเบิดถูกบริเวณใบหน้า จะทำให้ผิวหน้าไหม้ ขนตาและหนังตาไหม้ ทำให้เสียโฉม ที่สำคัญที่สุดคือ ตา อาจทำให้ตาดำไหม้ ขุ่นมัว เลือดออกช่องหน้าม่านตา อาจทำให้ตาบอดได้
ทางด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บาดเจ็บที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัด 28 แห่งทั่วประเทศ พบว่าในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ 2551-2555 มีผู้บาดเจ็บจากการถูกเปลว สะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุรวม 2,979 ราย เฉลี่ยปีละ 596 ราย เสียชีวิต 8 ราย เฉพาะปี 2555 บาดเจ็บ 756 ราย เสียชีวิต 4 ราย โดยช่วงเทศกาลลอยกระทงพบผู้บาดเจ็บจากพลุร้อยละ 22 หรือประมาณ 166 ราย ที่น่าสนใจพบว่าการบาดเจ็บมีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย อายุที่พบต่ำสุด 2 ปี สูงสุด 90 ปี ร้อยละ 16 เมาเหล้าร่วมด้วย และจากการวิเคราะห์อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดที่มือและข้อมือมากที่สุด ร้อยละ 43 ในจำนวนนี้กระดูกนิ้วมือแตกร้อยละ 15 นิ้วขาดบางส่วนและทั้งหมดร้อยละ 10 อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บรองลงมาคือ ศีรษะ พบร้อยละ 13 แผลถูกความร้อนและสารกัดกร่อนบริเวณร่างกาย ร้อยละ 10
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า การเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ เป็นอันตราย ต้องสอนให้ลูกหลานเข้าใจว่าห้ามจุดเล่นเองเด็ดขาด และไม่ควรอยู่ใกล้บริเวณที่จุดพลุ ระยะปลอดภัยในการยืนดูพลุ คือระ&