“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 455 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข จับมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรงดเหล้า และชมรมสร้างเสริมสุขภาพ จัดโครงการรณรงค์ลอยกระทงปลอดเหล้า ปีนี้ 14 จังหวัด สร้างค่านิยมใหม่และเข้มการใช้กฎหมาย ห้ามขาย- ห้ามดื่มเหล้าในพื้นที่จัดงานลอยกระทง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้องห้าม พบฝ่าฝืนจับ-ปรับไม่ละเว้น พร้อมให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัดและขอความร่วมมือกทม. ส่งสายตรวจปรามตั้งแต่ 23 -30 พฤศจิกายน 2555 เผยผลสำรวจล่าสุดพบว่าคนไทยรู้กฎหมายเหล้า แต่ยังมีการฝ่าฝืน คนร้อยละ 80 เห็นกระทำผิด
(วันนี้ 22 พฤศจิกายน 2555) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์
นายแพทย์ชาญวิทย์กล่าวว่า เทศกาลลอยกระทงซึ่งจะมาถึงในอีก 6 วัน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) ชมรมสร้างเสริมสุขภาพและรองนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดรณรงค์ลอยกระทงปลอดเหล้า โดยห้ามจำหน่ายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในพื้นที่ที่จัดงานลอยกระทง ซึ่งปีนี้ดำเนินการในพื้นที่ 14 จังหวัดได้แก่ 1.เทศบาลนครเชียงใหม่ 2.เทศบาลเมืองตาก 3.เทศบาลเมืองแพร่ 4.เทศบาลเมืองหลังสวน จ.ชุมพร 5.เทศบาลนครอุดรธานี 6.เทศบาลเมืองปทุมธานี 7.เทศบาลเมืองชัยนาท 8.เทศบาลตำบลภูเรือ จ.เลย 9.เทศบาลเมืองตรัง 10.เทศบาลเมืองสตูล 11.เทศบาลนครสกลนคร 12.เทศบาลเมืองลำพูน 13.เทศบาลเมืองตราด และ14.วัดอรุณราชวราราม (กทม.) เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมดื่มเหล้าฉลองเทศกาล และส่งเสริมเทศกาลลอยกระทงของไทยเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามและทรงคุณค่า ไม่ให้ถูกทำลายให้เสียความเป็นเอกลักษณ์จากปัญหาที่มาจากการดื่มเหล้าเช่น อุบัติเหตุจราจร อาชญากรรม หรือมอมเมาเยาวชนหญิงและล่อลวงไปจนทำให้เสียตัวได้
นายแพทย์ชาญวิทย์กล่าวต่อว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนลด ละเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และดำเนินการกวดขันเข้มงวดการปฏิบัติตามกฎหมายคือพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เนื่องจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เหล้าและบุหรี่เป็น 2 ใน 4 ตัวการหลัก ที่ทำให้คนไทยมีอายุเฉลี่ยสั้นลง และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆกว่า 60 โรค ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 มีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 17 ล้านคน โดยเทศกาลวันลอยกระทงปีนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามหนังสือสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศและขอความร่วมมือกทม.ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกตรวจสอบ ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกาศห้าม ทั้งนี้พื้นที่จัดงานลอยกระทงส่วนใหญ่มักจัดในสถานที่สาธารณะ ริมแม่น้ำ ท่าน้ำ ลำคลอง หรือบึง ซึ่งอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น เป็นเขตห้ามขาย-ห้ามดื่มเหล้าอยู่แล้ว จะเริ่มตรวจตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน -30 พฤศจิกายน 2555 หากพบกระทำผิดจะลงโทษตามกฎหมายโดยไม่ละเว้น โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับการจัดงานประเพณีลอยกระทงใน 14 จังหวัดรณรงค์นั้น กระทรวงสาธารณสุขจะให้เป็นต้นแบบของการเป็นพื้นที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจร้านค้า เฝ้าระวัง บังคับใช้กฎหมาย จับจริง ปรับจริง เพราะเรื่องการรณรงค์ความปลอดภัย เป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันไม่ใช่ภาระของคนใดคนหนึ่ง นายแพทย์ชาญวิทย์
ทั้งนี้ เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด จำนวน 1,893 คน เรื่อง “ประเพณีลอยกระทงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 -30 ตุลาคม 2555 พบว่าเทศกาลลอยกระทงเป็นวันที่คนนิยมดื่มเหล้ารองจากเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลขึ้นปีใหม่ โดยประชาชนร้อยละ 92 รับรู้ รับทราบกฎหมายห้ามขาย ห้ามดื่มเหล้าในสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด หรือสวนสาธารณะ แต่ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 ระบุว่ายังพบเห็นการขาย การดื่มในพื้นที่จัดลอยกระทงในปีที่ผ่านมา สะท้อนชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ รู้กฎหมาย แต่ยังฝ่าฝืนกระทำผิด โดยสิ่งที่ประชาชนไม่อยากให้เกิดขึ้นในวันลอยกระทงมี 4 เรื่อง อันดับ 1 ได้แก่ การจุดประทัด พลุไฟร้อยละ 29 รองลงมาได้แก่การทะเลาะวิวาทร้อยละ 26 การดื่มสุราร้อยละ 23 และการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 19
ทางด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ย้ำเตือนกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้ประกอบการทั้งกทม.ปริมณฑล และต่างจังหวัดทราบและปฏิบัติตามกฎหมาย มาเป็นเวลา 3-4 ปี ซึ่งได้รับความร่วมมือดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่มีการฝ่าฝืนกว่าร้อยละ 90 จะพบในช่วงเทศกาลสำคัญ ในปี 2555 ได้ตรวจจับ ดำเนินคดีทั่วประเทศรวม 4,293 ราย ประกอบด้วยในเขตกทม. 2,067 ราย ที่เหลืออีก 2,226 รายอยู่ในต่างจังหวัด และได้จัดส่งทีมเฉพาะกิจลงในพื้นที่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อน ยากต่อการดำเนินงานของพื้นที่ และลงโทษรวมอีก 700 ราย โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้จะตรวจเข้มข้นทุกพื้นที่ที่ห้ามขายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงด้วย
*************************************** 22 พฤศจิกายน 2555