อย. ย้ำ! ซื้อเครื่อง CPAP ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 19 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (2 พฤษภาคม 2567) นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ กล่าวว่า จากเหตุไฟไหม้โรงงานเก็บกากสารเคมีอันตรายในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ก่อให้เกิดกลุ่มควันไฟจำนวนมาก ลอยฟุ้งกระจายทั่วบริเวณโรงงาน และชุมชนข้างเคียง รวมทั้งมีกลิ่นเหม็นจากสารเคมีส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และประชาชนที่สูดดมควันพิษ มีอาการแสบตา หายใจไม่สะดวกมึนหัว และเวียนศีรษะ เจ้าหน้าที่ได้อพยพประชาชน ตลอดจนผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลภาชีออกไปยังศูนย์อพยพเป็นการเร่งด่วน พร้อมเปิดโรงพยาบาลสนาม เพื่อลดความความเสี่ยงและผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีและเหตุการณ์ไฟไหม้ที่อาจปะทุ หรือเกิดการระเบิดซ้ำในบริเวณดังกล่าว
นายแพทย์อรรถพล กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มีความกังวลใจและห่วงใยสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ที่อาจได้รับผลกระทบทางสุขภาพ เนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ค่อนข้างมีความรุนแรง จึงได้เร่งส่งทีม SEhRT ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ปฏิบัติการเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพประชาชนในชุมชนและมีการสำรวจเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาล สุขอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์อพยพและโรงพยาบาลสนามมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ผลกการตรวจวัดคุณภาพของกรมควบคุมมลพิษพบสารเคมีอันตรายที่ปนมากับควันไฟ ได้แก่ อะคริโลไนไตรล์ ฟอสฟีน ฟอสจีน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ พบค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน กระจายอยู่โดยรอบชุมชนในระยะ 2.3 - 9.5 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับทิศทางลม ทำให้ประชาชนเกิดอาการทางสุขภาพอย่างรุนแรงได้
2) ซึ่งจากข้อมูลสารพิษในอากาศที่เกิดจากไฟไหม้ดังกล่าว จึงทำการสำรวจกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเปราะบางและประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสควันไฟ เขม่า ขี้เถ้า และฝุ่นละอองที่มาจากการเผาไหม้ในชุมชนโดยรอบโกดังที่เกิดไฟไหม้พบมีประชาชนได้รับผลกระทบในพื้นที่ จำนวน 3 ตำบล คือ ตำบลภาชี ตำบลโคกม่วง และตำบลหนองน้ำใส มีผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสนาม จำนวน 28 ราย พบประชาชนมีอาการแสบตา ระคายเคืองคอจากการสูดดมเหม็นกลิ่นสารเคมีจากควันไฟ จำนวน 9 ราย และเบื้องต้นมีผู้เข้าพักในศูนย์อพยพ จำนวน 26 ราย บางส่วนกลับบ้านได้แล้ว เนื่องจากมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามทีมจังหวัดได้กำหนดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในระยะ 1 กิโลเมตร เพื่อเป็นการติดตามอาการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
3) สำรวจและประเมินการจัดการด้านสุขาภิบาลภายในศูนย์อพยพและโรงพยาบาล โดยประเมินคุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ ตรวจสอบคุณภาพอากาศและการระบายอากาศ ประเมินสุขลักษณะส้วม และการจัดการขยะภายในศูนย์อพยพและโรงพยาบาลสนาม เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงโรคระบาด และลดความแออัดของผู้อพยพ ผลการประเมินพบว่า น้ำใช้เป็นน้ำประปาหมู่บ้านและประปาภูมิภาคอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมีความปลอดภัย น้ำดื่มเป็นน้ำบรรจุขวดได้มาตรฐาน สำหรับอาหารเป็นอาหารบรรจุกล่องที่แจกให้ผู้เข้ามาในศูนย์อพยพ ยังไม่มีการเปิดครัวภายในศูนย์อพยพ เนื่องจากจำนวนผู้อพยพยังมีไม่มากนัก จากการประเมินพบว่าอาหารดังกล่าวเป็นอาหารปรุงสุกใหม่ไม่มีกลิ่นบูด ไม่มีสีที่ผิดปกติจึงมีความปลอดภัย ส้วมมีจำนวนเพียงพอและมีความปลอดภัย แต่ยังต้องมีการปรับปรุงเรื่องความสะอาดเพิ่มเติมจึงได้แจ้งให้ผู้ดูแลศูนย์อพยพจากตารางการทำความสะอาด เพื่อให้ประชาชนร่วมกันดูแลเรื่องของความสะอาดร่วมกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ
“นอกจากนี้ ศูนย์อพยพมีลักษณะเป็นอาคารเปิดโล่ง หน้าต่างกว้างมีพัดลมระบายอากาศสามารถระบายอากาศได้ดี จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน ปลอดภัย ประกอบกับจำนวนผู้อพยพมีไม่มากนัก ยังไม่มีผู้พักค้างในศูนย์อพยพ จึงไม่มีความแออัดและมีการระบายอากาศโดยรอบที่ดี4) ให้ความรู้กับประชาชนให้รู้จักวิธีการสังเกตสิ่งผิดปกติ หลีกเลี่ยง การป้องกันตนเองจากควันพิษ สารเคมีอย่างง่ายด้วยการสวมหน้ากากป้องกันสารพิษ และต้องอพยพออกจากบ้านทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่มาแจ้งเตือนหรือหากอยู่ในพื้นที่ไม่เสี่ยงมากยังไม่ได้รับผลกระทบให้รีบปิดประตู หน้าต่าง ห้ามออกนอกบ้านลดการสูดดมและสัมผัสสารเคมีจากควันไฟ และ 5) ประสานหน่วยงานส่วนท้องถิ่นใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการจัดการเหตุรำคาญที่เกิดจากการประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน การเกิดเพลิงไหม้ หรือสารเคมีรั่วไหลที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในช่วงหลังได้
นายแพทย์อรรถพล กล่าวในตอนท้ายว่า หากเรามองย้อนกลับไป ทั้งเหตุการณ์โรงงานสารเคมีรั่วไหล เหตุระเบิด และไฟไหม้ในช่วงที่ผ่านมา ประชาชน และชุมชนใกล้เคียงจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุด และทุกครั้งที่ทีม SEhRT ของกรมอนามัย ลงพื้นที่สนับสนุนการทำงาน จะได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนในพื้นที่เสมอ ทั้งอาการทางสุขภาพ แสบตา แสบจมูก หายใจไม่ออก บางรายหมดสติ และบางรายต้องถูกส่งไปรักษาตัว เพื่อเป็นการป้องกัน เตรียมการก่อนจะเกิดเหตุที่ร้ายแรง กรมอนามัย จึงขอให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้อนุญาตประกอบการ เร่งทำการแจ้งให้ผู้ประกอบการหรือผู้ครอบครองอาคาร โรงงาน ตลอดโกดังสะสมสารเคมี ทำการตรวจตรา ตรวจสอบระบบทั้งหมด
ทั้งการผลิต ระบบไฟฟ้า ตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ ท่อก๊าซ ห้องเก็บสารเคมี ที่จะเป็นต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้ ระเบิด หรือสารเคมีรั่วไหล เพื่อสามารถหาทางป้องกัน ซ่อมแซม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ชำรุดให้มีสภาพที่ใช้งานเพื่อความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ต้องกำกับ ควบคุม ติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง ต้องหาวิธีแจ้งเตือนประชาชนให้ป้องกันตนเองและอพยพ
ได้อย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพประชาชน
***
กรมอนามัย / 2 พฤษภาคม 2567