อย. ย้ำ! ซื้อเครื่อง CPAP ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 36 View
- อ่านต่อ
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้ใช้สารเสพติดประมาณ 1.5 ล้านคน รัฐบาลมีนโยบาย มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้ความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ยึดหลักผู้เสพเป็นผู้ป่วย สนับสนุนให้เข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ด้วยการพัฒนารูปแบบการเข้ารับบริการที่เชื่อมโยง ตั้งแต่ศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้เห็นผล โดยได้มีการดำเนินโครงการ “ราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” สนับสนุนให้มีการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังอย่างเต็มที่ ซึ่งได้กำหนดให้มีหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาเสพติดแบบต่อเนื่องไร้รอยต่อ ปัจจุบันพบว่า ผู้ติดยาเสพติดมีความผิดและต้องโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมมีจำนวนมากที่ถูกคุมขังในระบบต้องโทษ อยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์มากกว่า 3 แสนคนทั่วประเทศ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลับคืนสู่สังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สอดคล้องและเป็นไปตามเป้าหมาย และเจตนารมณ์ของ“โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่ต้องการให้ผู้ต้องขังที่ติดยาเสพติด ซึ่งนับเป็นความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเช่นผู้ป่วยยาเสพติดทั่วไป ถือเป็นคุณประโยชน์ที่ได้ให้โอกาสกับชีวิตใหม่แก่ผู้ต้องขัง ได้กลับมาทำความดีให้แก่ประเทศชาติในอนาคต
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนาวิชาการ และบริการ กำหนดมาตรฐานการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ตรวจติดตาม และรับรองคุณภาพ HA ยาเสพติด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาระบบการรักษา โปรแกรมต่างๆ รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้มีคุณภาพ สร้างความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
นายแพทย์ดลสุข พงษ์นิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ดูแลในเขตสุขภาพที่ 1 และ 2 ครอบคลุม 12 จังหวัด ในเขตภาคเหนือตอนบนและเพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดบริการบำบัดรักษาฟื้นฟูดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดในระบบต้องโทษ ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน และเป็นไปตามข้อกำหนดของประมวลกฎหมายยาเสพติด จึงได้พัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยเฉพาะผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำที่มีจำนวนมาก จึงได้จัดกิจกรรมออกหน่วยให้บริการคลินิกจิตเวชในเรือนจำ ตาม “โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ประจำปี 2567 เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ต้องขังคดียาเสพติด และเพื่อทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากจิตแพทย์ ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกัน ในเครือข่ายบริการจิตเวชและยาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ให้บริการตรวจคัดกรองและบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพจิตและยาเสพติด แก่ผู้ป่วยในระบบต้องโทษในเรือนจำกลางเชียงใหม่ ดูแลผู้ต้องขังต่อเนื่อง 131 ราย ที่ผ่านมาได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งจากผู้ต้องขังที่เข้ารับบริการ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้การจัดการปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการบำบัดฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อนำตัวเข้ารับการบำบัดให้กลับมาเป็นคนดีคืนสู่สังคมและครอบครัว
**********************************************************************************************
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ #TCH #ยาเสพติด -ขอขอบคุณ- 21 มีนาคม 2567