อย. ย้ำ! ซื้อเครื่อง CPAP ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 36 View
- อ่านต่อ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีความห่วงใยสุขภาพของเด็กเสี่ยงติดโรคหัดและไอกรน
อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ อาจส่งผลให้สียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2565 – 2566
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบผู้ป่วยโรคหัด 23 ราย และโรคไอกรน 1 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากเด็กยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน แม้เด็กเหล่านี้จะได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ สถานการณ์โรคหัดในปี 2567 มีแนวโน้มเพิ่มขึึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนในเด็กเล็กลดลงเหลือ 86.4% จากเกณฑ์มาตรฐาน 95% อาจนำไปสู่การระบาดของโรคได้ และข้อมูลจากกรมควบคุมโรคปี 2566 พบว่า
มีเด็กร้อยละ 57 ที่ได้รับวัคซีน 1 เข็ม และมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับครบ 2 เข็ม มีถึงร้อยละ 14 % ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับหรือไม่
ในเขตสุขภาพที่ 12 พบอัตราป่วยด้วยโรคหัดสูงถึง 2.4 ต่อแสนประชากร โดยพบมากที่สุดที่จังหวัดปัตตานีถึง 13.6 ต่อแสนประชากร
นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
กล่าวเพิ่มเติมว่า การป่วยด้วยโรคหัด และไอกรนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว การรักษาจึงเน้นให้การดูแลรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ในกรณีของโรคหัด จะให้ยาต้านแบคทีเรีย ในกรณีของโรคไอกรน ให้ผู้ป่วยรักษาตัวในห้องแยกโรค เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น นอกจากนั้นยังต้องมีการพิจารณาให้การป้องกันการแพร่กระจายด้วยการฉีดวัคซีน ในกลุ่มเด็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่สัมผัสโรค แนะ พ่อแม่ ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดอย่างครบถ้วน เพื่อลดอัตราความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กเล็ก
ที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคติดต่อดังกล่าว สามารถพาเด็กเข้ารับบริการวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายเข้ารับบริการได้ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โทร 1415 ต่อ 2317 -ขอขอบคุณ-
10 มีนาคม 2567