เดชอิศม์ ปลื้ม ไทยได้รับ ‘เมืองสุขภาพดี’ สี่แห่งจากองค์การอนามัยโลก มอบกรมอนามัยพัฒนารูปแบบต่อเนื่องเพื่อขยายผล หวังสร้างสุขภาพดีทั่วเมืองไทยเป็นของขวัญปีใหม่
- กรมอนามัย
- 609 View
- อ่านต่อ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับการประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2566 สาขาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ และสาขาบริการภาครัฐ
วันนี้ (19 กรกฎาคม 2566) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยคณะผู้ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐจากสำนักงาน ก.พ.ร. ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) จากการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ สาขาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 และสาขาบริการภาครัฐ ประเภทการพัฒนาบริการ เรื่อง “การพัฒนาระบบ e-Service การตรวจวิเคราะห์ (iLab Plus) แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว” ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจ ในการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพทางห้องปฏิบัติการ ทั้งด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง สมุนไพร วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด ชีววัตถุ วัคซีน ตรวจยืนยัน เฝ้าระวังเชื้อโรค สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนรับรองห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขด้วย ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบการบริหารราชการสู่ระบบราชการ 4.0 โดยเปิดกว้างเชื่อมโยงสานพลังเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการในภารกิจสู่องค์กรสมรรถนะสูงที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง อาศัยความเชี่ยวชาญเชิงลึกของบุคลากรและความได้เปรียบที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อประชาชนมีสุขภาพดีและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อาทิ ชุดตรวจโควิด 19 ชุดตรวจอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตสารมาตรฐาน จัดทำตำรายาสมุนไพร และอื่นๆ อีกมากมายเพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนได้ใช้ประโยชน์ และต่อยอดทางเศรษฐกิจ รวมทั้งได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้กับประชาชน อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ได้นำความรู้ไปเฝ้าระวังความปลอดภัยในชุมชน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนากระบวนการให้บริการจากระบบ Analog มาเป็นระบ e-Service เพื่ออำนวยความสะดวกผู้รับบริการ หรือผู้ประกอบการ เช่น ระบบการส่งตรวจวิเคราะห์ออนไลน์ หรือ ไอแล็บพลัส (iLab Plus) ผู้รับบริการสามารถใช้บริการด้วยตนเองผ่าน e-Service (Anytime Anywhere Anydevice) ไม่ต้องเดินทางมาช่วยลดค่าใช้จ่าย สามารถติดตามตรวจสอบสถานะการส่งตัวอย่าง ตรวจสอบประวัติการส่งตัวอย่าง และดาวโหลดรายงานผลตรวจวิเคราะห์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน ผู้รับบริการ ให้ได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และพร้อมเป็นหน่วยงานต้นแบบ ความเป็นเลิศให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปต่อยอดพัฒนาการบริการประชาชนต่อไปได้