อย. ไทย - PMDA Asia Office มุ่งสร้างความร่วมมือ เพื่อพัฒนาระบบการกำกับดูแลยาและเครื่องมือแพทย์
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 8 View
- อ่านต่อ
กรม สบส. ชื่นชม อสม.พังงา อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ชื่นชม อสม.พังงา ได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการนำแนวคิด ““การบริโภคเป็นพื้นฐานของชีวิต จึงต้องการหาความรู้เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคอย่างปลอดภัย” มาสร้างความตระหนักความเข้าใจแก่ชาวชุมชน จนนำไปสู่การบริโภคที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน
นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การบริโภคสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการบริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับและความปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ด้วยสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จึงอาจจะมีสินค้าบางรายการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีการผสมสารอันตรายในอาหาร เช่น สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน หรือมีการผสมสารต้องห้าม เช่น สารสเตียรอยด์ สารปรอทในเครื่องสำอาง จนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพอย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เช่น น.ส.ธมนธร มุมบ้านเซ่า พลังของภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ผู้ได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ประจำปี 2566 ซึ่งมีแนวคิด ““การบริโภคเป็นพื้นฐานของชีวิต จึงต้องการหาความรู้เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคอย่างปลอดภัย” ในการดำเนินงาน สร้างความตระหนักความเข้าใจแก่ชาวชุมชน จนนำไปสู่การบริโภคที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ด้าน นพ.สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า ในส่วนของการดำเนินงานจนเป็นที่มาของการได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติฯ นั้น น.ส.ธมนธรฯ นำหลัก 3 ต. “ตระหนัก ตื่นรู้ ตรวจตา” มาถ่ายทอดให้ชาวชุมชนในการเลือกซื้อ/ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ ที่จำหน่ายยาอันตราย หรือเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขจดแจ้ง และมีการตรวจชุดสังฆภัณฑ์ จนได้เป็นร้านชำต้นแบบ อีกทั้ง แก้ไขการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง โดยมีกล่องแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟสบุ๊ก ไลน์ (Line) หรือ ติ๊กตอก (Tik Tok) อบรมให้ความรู้ อย.น้อยเพื่อเป็นแกนนำด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมจัดกิจกรรม More healthy/More income/More happiness โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจวิเคราะห์ทุกเดือน นอกจากนี้ ยังมีการคิดค้นนวัตกรรมมาใช้ดำเนินงานดูแลคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อย่างกระเป๋าอับดุลและรถสามล้อคู่ใจ จัดเก็บชุดทดสอบอาหาร เครื่องสำอาง และสารสเตียรอยด์ สำหรับเพื่อใช้ในการตรวจสอบอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ทันที
***************** 27 มีนาคม 2566