สูตินรีแพทย์เตือนกินลูกปลาช่อนดิบเสี่ยงอันตราย ไม่ช่วยสมานแผลผ่าคลอด
- กรมการแพทย์
- 39 View
- อ่านต่อ
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดโครงการ “หนึ่งโรงเรียนหนึ่งครูอนามัย สร้างเด็กไทยรอบรู้สุขภาพ” จังหวัดสระแก้ว พร้อมแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รวมถึงผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข อาทิ นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 ดร.นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ บุคลากรฝ่ายการศึกษาและฝ่ายสาธารณสุข สถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน เข้าร่วมงานกว่า 500 คน โดยมี นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวต้อนรับ
นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 6 กล่าวว่า จากการที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและนำพาประเทศชาติสู่อนาคตตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ เป็นกรอบการขับเคลื่อนงานและนำพาให้ประเทศไทยสู่เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม กอปรกับแผนแม่บทการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตช่วงเด็กวัยเรียนวัยรุ่น มุ่งให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยได้มีนโยบายบูรณาการทำงานร่วมกันตามข้อตกลงความร่วมมือ 12 กระทรวง ในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นคนเก่ง ดี มีความรู้ และทักษะคิดวิเคราะห์ รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมืองดี กล้าหาญทางจริยธรรม สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 พ.ศ. 2565-2570 ภายใต้ความร่วมมือ 12 กระทรวง ด้วยหลัก 4 H มิติ Health ได้ดำเนินโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งครูอนามัยสร้างเด็กไทยรอบรู้สุขภาพ และพัฒนาหลักสูตรครูอนามัย สร้างเด็กไทยรอบรู้สุขภาพ เน้นสร้างเสริมศักยภาพครูอนามัยถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างทักษะการดูแลสุขภาพที่จำเป็นของนักเรียน โดยเป้าหมายปี 2566 มุ่งให้เด็กไทย 1 ล้านคน กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีทักษะเบื้องต้นในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) รู้เท่าทันจิตใจตนเองและผู้อื่น จัดการความเครียด สร้างความสุขด้วยตัวเอง รู้โทษทัณฑ์ พิษภัย ห่างไกลสารเสพติด มีทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสถานศึกษาปลอดภัยรอบด้าน เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนครูอนามัยมีความรู้ และเป็นพี่เลี้ยง (Coach) ในการดูแลด้านสุขภาวะเด็กนักเรียนได้ โดยขยายผล นำร่องที่จังหวัดสระแก้ว จัดให้มีการอบรม ครูอนามัย ภาคทฤษฎี ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 ผ่าน OBEC Channel และอบรมครูอนามัย ภาคปฏิบัติในพื้นที่ 18 เขตการศึกษา 18 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2566
“ทั้งนี้ การจัดงานกิจกรรมเปิดโครงการในครั้งนี้ ประกอบด้วย การเรียนรู้ฐานสาธิต 4 ฐาน อาทิ ฐาน 1 นาทีชีวิต (CPR) ฐาน 2 รอบรู้สุขภาพใจ ห่างไกลสารเสพติด ฐาน 3 ใส่ใจตรวจเต้านม ฐาน 4 คัดกรองการได้ยิน สายตา ซีด & HPV ซึ่งผลการตรวจคัดกรองสายตานักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 61 ราย พบสายตาผิดปกติ 8 ราย ได้รับการวัดสายตาและเข้ารับ แว่นสายตาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ พบกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 2 ราย ส่งต่อเพื่อรับการรักษา ผลการตรวจด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน 25 ราย พบผิดปกติ 2 ราย สงสัยขี้หูอุดตัน ส่งต่อเพื่อรับการรักษา ผลการตรวจคัดกรองโลหิตจางนักเรียนชั้น ป.3 จำนวน 30 ราย พบโลหิตจาง 1 ราย ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก แนะนำอาหารและติดตามต่อเนื่อง ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) แก่นักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 12 ราย ให้บริการวัดความดันโลหิตผู้ปกครองและประชาชน จำนวน 23 ราย พบความดันโลหิตสูงกว่าปกติ จำนวน 4 ราย รวมถึงแสดงกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยอักษรเบลล์ และนิทรรศการชุดทักษะรอบรู้สุขภาพ 6 Modules อาทิ ทักษะชีวิต ทักษะสังคม ทักษะสุขภาพ ทักษะการจัดการสภาพแวดล้อม ทักษะรู้เท่าทันเทคโนโลยี และทักษะการจัดการงานอนามัยโรงเรียน อันเป็นฐานการสร้างเด็กไทยให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาพกายและใจที่ดี” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 4 มีนาคม 2566