ปลัด สธ. สั่งตั้งศูนย์ EOC รับมือ "อหิวาต์" พร้อมให้การสนับสนุนทีมช่วย "เมียนมา" ควบคุมป้องกันโรค เข้มเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในไทย
- สำนักสารนิเทศ
- 227 View
- อ่านต่อ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จากเทคโนโลยีในไข่ไก่ฟัก เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยยืนยันได้จัดหาวัคซีนให้คนไทยทุกคน เบื้องต้นทำสัญญาและออกใบสั่งซื้อ 63 ล้านโดส ขณะนี้รอการจัดส่ง
วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ร่วมแถลงข่าว “องค์การเภสัชกรรม เดินหน้าศึกษาวิจัยทางคลินิกวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในมนุษย์ระยะที่ 1” โดยนายอนุทินกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะจัดหาวัคซีนสำหรับคนไทยทุกคน โดยยึดหลักประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ปลอดภัยสูงสุด คุ้มค่ามากที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับประเทศไทย ได้เจรจาติดต่อกับผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลกทุกราย ทำให้เบื้องต้นได้จัดหาวัคซีนทั้งสิ้น 63 ล้านโดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อฉีดให้กับทุกคนและกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยทำให้ประเทศไทยผ่านสามารถผ่านพ้นสถานการณ์การระบาดนี้ไปได้ด้วยดี
นายอนุทินกล่าวต่อว่า รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาและออกใบสั่งซื้อวัคซีนเรียบร้อยแล้ว การจัดส่งก็เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งแผนการฉีดวัคซีนในเดือนมิถุนายนนั้น เป็นการกำหนดไว้เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา และเพื่อความมั่นใจได้จัดหาวัคซีนเร่งด่วนให้กับกลุ่มเสี่ยง โดยได้มาจากจีน 2 ล้านโดส ปลายเดือนกุมภาพันธ์ส่งล็อตแรก 2 แสนโดส, มีนาคม 8 แสนโดส และเมษายน 1 ล้านโดส หลังจากนั้นคาดว่าปลายเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนปีนี้ วัคซีนจากแอสตราเซนเนกาที่ผลิตในประเทศไทย เริ่มจะทยอยส่งออกมา และที่สั่งไปล็อตแรก 26 ล้านโดสจะทยอยออกมา ดูจากไทม์ไลน์จะมีความต่อเนื่องกันจึงไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด
สำหรับวัคซีนโรคโควิด 19 ภายใต้ความร่วมมือ อภ., สถาบัน PATH สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาเพื่อให้มีวัคซีนคุณภาพดี, ม.มหิดล ที่ได้ร่วมกันพัฒนาตั้งแต่กลางปี 2563 ผลการทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่ากระตุ้นภูมิคุ้นกันได้ผลดีและปลอดภัย ขั้นต่อไปคือเตรียมทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ ระยะที่ 1 ในเดือนมีนาคมนี้ เมื่อมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกครบทั้ง 3 ระยะแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อย. และผลิตระดับอุตสาหกรรมในโรงงานผลิตวัคซีนของ อภ. ทำให้ไทยมีโรงงานผลิตวัคซีนโรคโควิด 19 เป็นแห่งที่ 2 ต่อจากโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์ ช่วยให้มีวัคซีนเพียงพอที่จะดูแลคนไทย และเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้หรือหากเป็นไปได้ก็ดูแลทุกประเทศที่มีความต้องการวัคซีนโควิด 19 สร้างความมั่นคงด้านวัคซีน
“ขอให้ประชาชนไว้วางใจวัคซีนโควิด 19 ที่จะมาฉีดให้กับคนไทยไม่มีอิทธิพลทางการเมือง ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขพยายามจัดหามาให้กับประชาชนเป็นไปตามกระบวนการ ตามกฎหมาย มีคณะกรรมการทางด้านวิชาการ และทางด้านการบริการสาธารณสุข คอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดขอยืนยันอีกครั้งในฐานะผู้ดำเนินนโยบายว่า ในนามของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการดีๆ เช่นนี้ โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาวิจัยวัคซีนโควิด 19 ให้กับทุกองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เพื่อนำความมั่นคงและความเชื่อมั่นมายังประเทศไทย และทำให้ประชาชนไทยปลอดภัยจากโรคระบาดโควิด 19 โดยเร็วที่สุด” นายอนุทินกล่าว
************************** 10 กุมภาพันธ์ 2564
************************