โรงพยาบาลขอนแก่น ผ่านการประเมินคุณภาพ บริการพยาบาลในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข (NQA Award) ระยะการรับรอง 5 ปี
- โรงพยาบาลขอนแก่น
- 30 View
- อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 12.09 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อม ทพญ.วิภารัตน์ วรหาร ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านทันตกรรม) ปฏิบัติราชการร่วมคณะหัวหน้าส่วนราชการ นำโดยว่าที่ร้อยตรี รวยรุ่ง ใครบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และนายอำเภอธาตุพนมพนม ลงพื้นที่ทานอาหารเมนูเนื้อ โดยมีสาธารณสุขอำเภอธาตุพนม พร้อมบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ต้อนรับ ณ ร้านรัตนะฟาร์ม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ที่จังหวัดมุกดาหาร ที่เป็นกระแสในสื่อโซเชียล และประชาชนให้ความสนใจนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคร ร่วมกับเครือข่ายปศุสัตว์ในพื้นที่ และทีมเครือข่ายเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ ได้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคแอนแทรกซ์ รวมถึงได้รับทราบเหตุการณ์และพบเหตุผู้ป่วยสงสัยคล้ายกับเป็นผู้ป่วย ได้ดำเนินการลงสอบสวนโรคเบื้องต้นไปแล้ว ซึ่งสถานการณ์โรคล่าสุด (วันที่ 8 พฤษภาคม 2568) ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยัน โดยพบผู้ป่วยสงสัยโรคแอนแทกซ์ 1 ราย เป็นเพศหญิง อายุ 55 ปี อาชีพเกษตรกร ปฏิเสธโรคประจำตัว มีตุ่มน้ำใสบริเวณแขนขวา แตกตรงกลางบุ๋มแผลมีสีดำคล้ายบุหรี่จี้ (Eschar) แผลไม่บวม ไม่คัน ไม่มีอาการทางระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นสงสัยโรคแอนแทรกซ์ จึงเก็บตัวอย่างตุ่มน้ำใสจากผิวหนัง และ Hemoculture ส่งตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลนครพนม และสถาบันบำราศนราดูร ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคจังหวัดนครพนม อำเภอธาตุพนม ลงพื้นที่ดำเนินการ เบื้องต้น ไม่พบผู้ที่มีอาการเข้าข่ายตามนิยาม การค้นหาผู้สัมผัสโรค พบผู้สัมผัสร่วมสัมผัส 2 คน ไม่มีอาการป่วย และสัตว์ในพื้นที่ไม่พบความผิดปกติ หรือตายไม่ทราบสาเหตุ
แนะนำประชาชนควรระมัดระวังและสังเกตอาการสัตว์ที่เลี้ยง โดยเฉพาะโค กระบือ แพะ แกะ หากมีอาการป่วยผิดปกติ หรือสัตว์ตาย ไม่ควรชำแหละเนื้อ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อเข้ามาตรวจสอบ หรือหากมีประวัติสัมผัสสัตว์และมีอาการป่วย ควรรีบมาพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัส เช่น มีประวัติการชำแหละและสัมผัสสัตว์ หรือการรับประทานเนื้อสัตว์ ที่ไม่สุก สำหรับการป้องกัน คือ แนะนำให้ใส่ถุถุงมือในการชำแหละหรือปรุงเนื้อสัตว์ และล้างมือให้สะอาดจะช่วยจะลดการปนเปื้อนได้ ส่วนอาหารควรปรงให้สุก จะทำให้ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้และได้มาตรฐาน หากพบอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ เนื่องจากโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ หรือกรณีสัมผัสและไม่มีอาการป่วย แพทย์จะมีการให้ยาในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรง
หากมีอาการผิดปกติหลังการสัมผัสสัตว์ หรือสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อ หรือมีตุ่มน้ำใส คัน เมื่อแตกตรงกลางจะบุ๋ม แผลมีสีดำคล้ายบุหรี่จี้ (Eschar) ควรรีบไปพบแพย์ทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โรคแอนแทรกซ์สามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบเร็วและได้รับยาที่เหมาะสม หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
อนึ่ง โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bocillus anthrocis สามารถพบได้ทั่วไปในแหล่งตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ซึ่งสปอร์ของเชื้อมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งร้อนและเย็น เบื่อยังสามารถก่อให้เกิดโรคได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปี โดยเฉพาะในดินที่มีซากสัตว์ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะสัตว์กินหญ้า เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และอูฐ โรคนี้สามารถติดต่อมายังคนได้จากการสัมผัสสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หนังสัตว์ ขน กระดูก หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
สัตว์พาหะส่วนใหญ่ที่พบ คือ โค กระบือ แพะ และแกะ สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้ ซึม ไม่กินอาหาร มีอาการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุและเสียชีวิต การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น กาชำแหละเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก หรือการสัมผัสกับหนังสัตว์หรือขนสัตว์ที่มีสปอร์ของเชื้อ และโรคนี้ยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน เชื้อสามารถแพร่ใต้ 3 ทาง คือ 1) การสัมผัส จากการชำแหละสัตว์ที่ป่วยตายจากโรคนี้ ผู้ป่วยจะติดเชื้อโดยสปอร์ของเชื้อเข้าสู่บาดแผลแฃะรอยถลอก จะเริ่มมีฮาการป่วยหลังสัมผัสโรคประมาณ 1 - 7 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับตัวโรคและคนที่ได้รับเชื้อ รอยแผลเริ่มจากเป็นตุ่มที่ผิวหนัง ตามมาด้วยตุ่มน้ำใส และแตกออกกลายเป็นแผลหลุมสีดำ คล้ายบุหรี่จี้ หากไม่ได้รับการรักษาจะลูกลามของเชื้อไปยังต่อมน้ำเหลือง และกระจายไปตามกระแสเลือดทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้ 2) การรับประทาน หากรับประทานเนื้อสัตว์ที่ป่วยดิบหรือปรุงไม่สุกอาจะติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีอาการใข้สูง ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายกับอาการของอาหารเป็นพิษ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้ และ 3) การหายใจ ซึ่งพบได้น้อยกว่า คือ การหายใจเอาสปอร์ของแอนแทรกข์เข้าไป โดยเชื้อจะปนเปื้อนอยู่บริเวณที่สัตว์ป่วยหรือเสียชีวิต สามารถฝังตัวอยู่ได้เป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ไอ หายใจลำบาก หน้าเขียวคล้ำ และเสียชีวิตจากอาการของระบบหายใจล้มเหลว
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/1UqRBz1unv/
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/1EZtzrQz1p/
Facebook: นครพนมทูเดย์
https://www.facebook.com/share/p/1Ab8CN1Fx3/
Facebook: แจ้งข่าวนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/14EE352W8fU/
Facebook: โอเค-นครฯ
https://www.facebook.com/share/p/18oYmGGT8g/