วันจันทร์ ที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. ดร.นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี มอบหมายพญ.สืบศิริ บัณฑิตภิรมย์                 รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยงานอุบัติเหตุและสาธารณภัยเข้าร่วมประชุมและแถลงข่าว โดยนายราชันย์  ซุ้นหั้ว  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี        เป็นประธาน พร้อมด้วย นายพิสิษฐ์ชัย  อภัยปิยกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ประชุมสรุปผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 และร่วมประชุมVDO Conferenceกับศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 (ส่วนกลาง) และศปถ.อำเภอ ผ่านระบบZoom Meeting สรุปวิเคราะห์เชิงลึกอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2567 จำนวนครั้งเกิดเหตุ 4 ครั้ง (อ.เมืองอุดรธานี1/อ.น้ำโสม1/อ.วังสามหมอ1/อ.ไชยวาน1) บาดเจ็บ 6 คน (อ.น้ำโสม3/อ.เมืองอุดรธานี1/อ.วังสามหมอ1/อ.ไชยวาน1) เสียชีวิต 2 คน (อ.น้ำโสม2) สะสมวันที่ 27-29 ธันวาคม 2568 จำนวนครั้งเกิดเหตุ 9 ครั้ง บาดเจ็บ 9 คน เสียชีวิต 5 คน (อ.น้ำโสม2/อ.หนองวัวซอ1/อ.วังสามหมอ1/อ.หนองหาน1) รายงานผลการดำเนินงานดังนี้ 1.สรุปผลการดำเนินงานการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาสัมพันธ์ร้านค้า ตรวจ เตือน แนะนะ ตามพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองผู้มีอาการมึนเมาสุรา              ณ ด่านชุมชน3.กิจกรรมเคาะประตูบ้าน ตีปีกแมงขี้นาก สร้างการรับรู้การขับขี่ปลอดภัย ตามมาตรการ3ด่านประสานใจ ครอบครัวปลอดภัยทุกเทศกาล ข้อสั่งการประจำ  วันที่ 30 ธันวาคม 2567 วันที่สี่ของช่วงควบคุมเข้มข้น 1.เพิ่มความเข้มข้น มาตรการ “ดื่มไม่ขับ” ให้ฝ่ายท้องถิ่นบูรณาการฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ชรบ. อสม. ประชาชนจิตอาสา ร่วม “เคาะประตูบ้าน” เข้าไปดูแลลูกบ้าน ญาติมิตร ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมดื่ม โดยเฉพาะในบ้านที่จัดงานรื่นเริง และพื้นที่ที่จัดงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ร่วมกันป้องปรามไม่ให้ขับขี่รถโดยเด็ดขาด และประชาสัมพันธ์ เน้นย้ำให้ครอบครัวดูแลสมาชิกในครอบครัว หากดื่ม ต้องไม่ให้ขับรถ อาจหยิบยกกรณีศึกษาความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้พี่น้องประชาชนเกิดเกรงกลัวต่อความสูญเสีย และตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่ทั้งต่อตนเองและบุคคลอันเป็นที่รักของตน 2.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมาย จับ ปรับในอัตราโทษสูงสุด โดยเฉพาะมาตรการ “ดื่มแล้วขับ” และกรณีตรวจพบผู้ขับขี่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด (20มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) ทั้งที่เป็นผู้ประสบเหตุ Admit  เข้าโรงพยาบาล หรือตรวจพบใน “ด่านบูรณาการ” “ด่านชุมชน” หรือจากการคัดกรอง         ตามมาตรการ “เคาะประตูบ้าน”ต้องมีการสอบสวนขยายผลเพื่อดำเนินคดีหรือมีบทลงโทษกับผู้ที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคคลดังกล่าวด้วย 3.ยกระดับความเข้มข้นการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของ “ด่านครอบครัว” “ด่านชุมชน” “ด่านหลักแบบบูรณาการ”หากเกิดอุบัติเหตุ และพบว่าผู้ขับขี่ที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุมีพฤติกรรม “ดื่มแล้วขับ” นายอำเภอ ผู้นำท้องที่ ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบว่าผู้ก่อเหตุดังกล่าว ขับขี่ผ่านด่านตรวจด่านใดบ้างเพราะเหตุใดจึงไม่สามารถสกัดกั้นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงนั้นไม่ให้ขับขี่รถออกมาบนท้องถนนได้จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย4.ให้ทุกหน่วยงาน ร่วมกันประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกคนเห็นความสำคัญในการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือที่เรียกว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” รวมถึงประชาสัมพันธ์ช่องทางการจัดซื้อประกันภัย        ที่ทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่า คุ้มครองทันที่ทำประกันภัย  ณ ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)  อาคาร 1 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี





View 158    30/12/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี