สธ. สั่งการทุกจังหวัดเข้มรับมือ PM 2.5 ปี 68 เน้น 4 มาตรการหลัก ขยายห้องปลอดฝุ่นมากกว่า 5 พันห้อง นัดหมายคลินิกมลพิษผ่านหมอพร้อม
- สำนักสารนิเทศ
- 317 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย ภาคใต้ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วม 4 จังหวัด คือ ปัตตานี ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ 2 อำเภอ ยะลาน้ำท่วมถนนหลายเส้นทางใน อ.เมือง นราธิวาส กระทบ 5 อำเภอ และสงขลา 4 อำเภอ ยังไม่มีสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขได้รับผลกระทบ กำชับเฝ้าระวังเข้ม 27-30 พฤศจิกายนนี้ ใน 10 จังหวัดภาคใต้ ป้องกันสถานพยาบาลเสี่ยง 113 แห่ง และเตรียมพร้อมดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2567) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กองสาธารณสุขฉุกเฉิน ได้รายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรงในภาคใต้ ภาพรวมยังไม่มีสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขได้รับผลกระทบ โดยพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 จังหวัด ได้แก่ 1) ปัตตานี ล่าสุดมีการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว 2 อำเภอ คือ อ.มายอ และ อ.ทุ่งยางแดง มีน้ำเข้าท่วมมัสยิด 3 แห่ง โรงเรียน 6 แห่ง และ สถานศึกษาปอเนาะ 6 แห่ง 2) ยะลา ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องใน อ.เมืองยะลา ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะ ต.สะเตงนอก ถนนหลายเส้นน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน เช่น เส้นทางไป รพ.สต.สะเตงนอก แต่ยังไม่กระทบต่อการให้บริการ ได้เตรียมความพร้อมรับมือแล้ว 3) นราธิวาส ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ คือ อ.บาเจาะ อ.แว้ง อ.รือเสาะ อ.เจาะไอร้อง อ.สุคิริน และ 4) สงขลา ได้รับผลกระทบมาก 4 อำเภอ คือ อ.ระโนด อ.กระแสสินธ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร มีการเฝ้าระวังติดตามปริมาณฝนที่ตกใน อ.สะเดา และ อ.หาดใหญ่ ร่วมกับติดตามระดับน้ำคลองอู่ตะเภาที่อาจจะไหลล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนและน้ำเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรงภาคใต้ ช่วงวันที่ 27-30 พฤศจิกายน นี้ มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งจะมีคลื่นสูงตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทย 2-3 เมตร มีคำเตือนให้ระวังอันตรายคลื่นลมแรง และควรงดการเดินเรือ โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้เฝ้าระวังป้องกันสถานพยาบาลที่มีความเสี่ยงในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 รวม 113 แห่ง เป็น โรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 12 แห่ง และ รพ.สต. 97 แห่ง รวมถึงเตรียมความพร้อมให้การช่วยเหลือดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางด้วย
**************************27 พฤศจิกายน 2567