กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ ยกระดับวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 46 View
- อ่านต่อ
วานนี้ (13 พฤศจิกายน 2567) เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดการประชุมวิชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ประจำปี 2567 “44 ปี พระเมตตา พัฒนาการศึกษา รักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา รากฐานความมั่นคงของชาติ” ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร การจัดประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 10 โดยมีกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อพัฒนาแนวคิดและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยมี แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ นายแพทย์วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และข้าราชการกรมอนามัย เฝ้ารับเสด็จฯ
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กรามบังคมทูลถวายรายงาน ว่า กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานร่วมสนองงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ โดยมุ่งพัฒนา เด็กไทย เก่ง ดี มีทักษะ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ซึ่งสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งของเด็กไทย ช่วงอายุ 5-17 ปี จากการสำรวจของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ปี 2566 พบมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอร้อยละ 21.4 (เป้าหมายเมื่อสิ้นสุดแผนปี 2573 ร้อยละ 40) และมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง 14.53 ชม. ต่อวัน (เป้าหมายเมื่อสิ้นสุดแผนปี 2573 ไม่เกิน 13 ชม.ต่อวัน) ดังนั้นควรเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย โดยให้ออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือเล่นกีฬา กระโดด โลด เต้น เล่น อย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้ วิธีการทดสอบสมรรถภาพ อย่างน้อย ปี ละ 2 ครั้ง มีดังนี้ 1) นั่งงอตัวไปข้างหน้า เพื่อวัดความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง 2) ดันพื้น 30 วินาที เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย 3) ลุก-นั่ง 60 วินาที เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง และ 4) ยกเข่าขึ้น-ลง 3 นาที เพื่อวัดความอดทนของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
ในการนี้ กรมอนามัย ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “กิจกรรมทางกายและทดสอบสมรรถภาพทางกาย” เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายในเด็กและเยาวชน แก่บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน ซึ่งจะช่วยปลูกฝังพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมในเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการพัฒนาสุขภาวะสู่ครอบครัวและชุมชน อันจะนำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนต่อไป
***
กรมอนามัย / 14 พฤศจิกายน 2567