สธ. ขยายผล “ธวัชบุรีและท่าวังผาโมเดล” แก้ปัญหายาเสพติดครบวงจรใน 10 จังหวัด เปิดตัว แอปฯ ล้อมรักษ์ ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงบำบัดรักษา
- สำนักสารนิเทศ
- 27 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข เผย “ไทย” จะเป็นเจ้าภาพฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างประเทศอาเซียน (RCD) 8-14 ก.พ. 2568 สร้างความแข็งแกร่งประเทศสมาชิกในการจัดการภัยพิบัติ จำลองแผนสู้วิกฤตอุทกภัยขนาดใหญ่ ทั้งการรับทีมแพทย์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฝึกดูแลผู้บาดเจ็บและส่งต่อทางน้ำ-อากาศ จัดการโรคติดต่อและไม่ติดต่อ รวมถึงภาวะสุขภาพจิต
นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ดำเนินการ “อาช โปรเจค” (ASEAN Regional Capacity on Disaster Health Management Project : ARCH Project) ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพ อาทิ พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว และภูเขาไฟปะทุ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในพื้นที่ประสบภัย เช่น การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ยา เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองฉุกเฉินแบบ “One ASEAN One Response”โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือ การฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ในภูมิภาคอาเซียน (Regional Collaboration Drill : RCD)
นพ.วีรวุฒิกล่าวต่อว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดฝึกซ้อม RCD ครั้งที่ 6 ช่วงวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2568 ที่จะถึงนี้ ได้วางแผนกำหนดสถานการณ์จำลองเป็นเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ (ระดับ 4) เพื่อฝึกฝนระบบการดูแลผู้บาดเจ็บและระบบการส่งต่อทางน้ำและทางอากาศ, สารเคมีและการกำจัดสารพิษ,การประเมินความต้องการด้านสุขภาพ, สุขภาพจิต, โรคติดต่อ โรคที่เกิดจากน้ำ และโรคไม่ติดต่อ โดยมีการจำลองสถานการณ์ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภัยพิบัติฯ ตามโจทย์ที่ได้รับในแต่ละสถานที่ เช่น นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งการประชุมที่จะเกิดขึ้นนี้ ยังเป็นการประเมินขีดความสามารถของประเทศไทยในการประสานรับทีมปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างประเทศในภาวะภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินขนาดใหญ่ และประเมินความสามารถในการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์และการรายงาน
ที่ต้องเป็นไปตาม *** แนวทาง/มาตรฐานขั้นตอนการ ประสานงานและเครื่องมือที่ใช้ในการประสาน งานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Emergency Medical Team Standard Operating Procedure: ASEAN EMT SOP) *** อีกด้วย
************************************************** 12 พฤศจิกายน 2567