อย. ย้ำ! ซื้อเครื่อง CPAP ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 5 View
- อ่านต่อ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม มักพบหลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังยาวนาน ส่งผลทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย มีสีดำ ส่งกลิ่นเหม็นบริเวณโดยรอบที่อยู่อาศัยและชุมชน และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค แนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งจัดการน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขัง ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและลดความเสี่ยงทางสุขภาพอนามัย
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยภาวะน้ำขังหลังอุทกภัย สามารถนำไปสู่โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคท้องเสียท้องร่วง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยกับประชาชนได้จึงได้มอบ นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำกับติดตาม และ เร่งฟื้นฟูสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม โดยเร่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและเครือข่ายดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งจัดการน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขัง แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย จึงแนะนำ 5 วิธีจัดการน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขัง เพื่อลดความเสี่ยงสุขภาพประชาชน ดังนี้ 1) หากพื้นที่สามารถระบายน้ำออกได้ ให้ดำเนินการเร่งระบายน้ำหรือสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังและเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น 2) กรณีเป็นน้ำท่วมขัง น้ำนิ่งและส่งกลิ่นเหม็นเน่า สามารถใช้ EM น้ำ บำบัดน้ำเน่าในพื้นที่เบื้องต้นก่อนได้ โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ ฉีดพ่นในน้ำเน่าเสีย เช่น กรณีน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ขนาดใหญ่ ให้เลือกวิธีการพ่นกระจายตัวจุลินทรีย์ให้ทั่วบริเวณที่ประสบปัญหา 20 – 80 ลิตรต่อพื้นที่น้ำท่วม 1 ไร่ ด้วยความลึกของน้ำท่วมไม่เกิน 1.5 เมตร และสำหรับกรณีน้ำท่วมถนน ตรอกซอย เป็นเวลานาน ให้พิจารณาจากลักษณะน้ำท่วมขังก่อน 3) กรณีน้ำท่วมขัง แต่น้ำยังไหลได้เรื่อย ๆ และมีโอกาสเน่าเสียน้อย ต้องปล่อยให้ปรับสภาพเองตามธรรมชาติ แต่อาจจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานตามสภาพพื้นที่4) ห้ามทิ้งขยะเศษอาหารหรือสิ่งสกปรกในน้ำที่ท่วมขัง และเก็บขยะออกจากทางน้ำหรือท่อระบายน้ำช่วยลดการท่วมขัง 5) หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือสัมผัสน้ำท่วมขังหรือน้ำเน่า เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่มากับน้ำ
“อย่างไรก็ตาม นอกจากสถานการณ์ปัญหาหาน้ำท่วมขังเน่าเสียแล้ว ขอให้ประชาชนชนดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัวอย่างใกล้ชิด หากต้องเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวหรือพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่อต่าง ๆ ทั้งนี้ เมื่อระดับน้ำลดลง และประชาชนสามารถกลับเข้าไปในบ้านได้ ต้องรีบทำความสะอาดบ้านเรือน ที่พักอาศัยเก็บกวาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ เพื่อให้สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งถ้าพบปัญหาเชื้อราที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เช่น เชื้อราบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพดาน ผนังบ้าน หรือบริเวณพื้นผิววัสดุต่างๆ ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เช่น น้ำส้มสายชู 5-7 เปอร์เซ็นต์ หรือแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 60-90 เปอร์เซ็นต์ เช็ดทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อรา และก่อนกำจัดเชื้อราต้องสวมหน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย และภายหลังจากล้างทำความสะอาดบ้านและกำจัดเชื้อราแล้ว ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัย
ที่ดี” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 15 ตุลาคม 2567