กระทรวงสาธารณสุข  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564 บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)  ฉบับแรกของไทย ตั้งเป้าหมายลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 
          ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการดำเนินงานแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ  ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่แก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)  ฉบับแรกของไทย เป็นกรอบการทำงานให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 ลดการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับคนร้อยละ 20 และสำหรับสัตว์ร้อยละ 30 ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและใช้ยาต้านจุลชีพเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และมีระบบจัดการการดื้อยาที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
 
          ผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ผ่านมา ได้แก่ 1.ดำเนินการ 8 เรื่อง  ตามเป้าหมายเร่งด่วน รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2560 อาทิ นโยบายโรงพยาบาลส่ง  เสริมการใช้ยาสมเหตุผลครอบคลุมยาต้านจุลชีพ  พัฒนาระบบการจัดการเชื้อ  ดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป  นำร่องระบบ  มาตรฐานการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยง การออกประ  กาศฯ ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพทั้งในคนและสัตว์ เป็นต้น 2.มี  มาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถตรวจจับ   เชื้อดื้อยาเป็นมาตรฐานเดียวกัน 3.เพิกถอนทะเบียนยาต้านจุลชีพที่ไม่ปลอดภัย     ยกเลิกยาต้านจุลชีพจากการเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยกระดับการควบคุมให้เป็นยาอันตราย รวมทั้งจำกัดการกระจายยาต้านจุลชีพที่สำคัญ 4.กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยบายร่วมกันในการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน 5.กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์และจัดทำแผนเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และ6.เริ่มจัดทำข้อมูลพื้นฐานระบบจัดการเชื้อดื้อยาของประเทศ เช่น การสำรวจปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย การสำรวจความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพของประชาชนและเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ในระยะยาว
 
          สำหรับในระยะต่อไป ประกอบด้วย การดำเนินงานตามเป้าหมายเร่งด่วน รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2561 รวม 14 รายการ โดยนำผลประเมินร่วมของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศจากองค์การอนามัยโลกประเด็นสำคัญเร่งด่วน 3 ข้อ และให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเริ่มขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพฯ อย่างเป็นระบบ ในปี 2561
                                                                                             
 
 
 
 
 
                                                                                                  กรกฎาคม 5/2
                          ******************30 กรกฎาคม 2560


   
   


View 29    30/07/2560   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ