สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
- สำนักสารนิเทศ
- 641 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาโรงพยาบาลเกาะคา เป็นโรงพยาบาลด่านหน้า รองรับประชาชนใน 9 อำเภอของจังหวัด ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ 17 คน ให้บริการผ่าตัดโรคศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูกและสูตินรีเวช ปีละกว่า 2,500 คน
นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และปฏิรูประบบการทำงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ โดยมีแผนพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ที่พัฒนาบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ พร้อมมีระบบการส่งต่อแบบไร้รอยต่อในเขตสุขภาพเดียวกัน เน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการสะดวกในมาตรฐานเดียวกัน จากการตรวจเยี่ยมพบว่าโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่จำนวน 752,110 คน รวมทั้งนักท่องเที่ยว โดยเป็นศูนย์เชี่ยวชาญการแพทย์เฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดตาและเรติน่า ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การรักษามะเร็งและการฟอกเลือดด้วยไตเทียม มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา รวมทั้งเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยหนักและซับซ้อนในจังหวัดใกล้เคียง เช่น แพร่ และน่าน ในปี 2559 ให้บริการผู้ป่วยนอก 779,952 ครั้ง เฉลี่ย 2,727 คนต่อวัน โรคอันดับ 1 คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคทางทันต-กรรม ส่วนผู้ป่วยในอันดับ 1 เป็นโรคมะเร็ง รองลงมาคือ โรคหัวใจและไตวาย
ทั้งนี้ เพื่อลดความแออัด ลดคิวรอคอยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ได้พัฒนาโรงพยาบาลเกาะคาเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย รองรับประชาชนใน 9 อำเภอ เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง มีแพทย์ 17 คน เป็นเเพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ ศัลยกรรมกระดูก วิสัญญีแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป มีห้องผ่าตัดใหญ่ 2 ห้อง กำลังปรับปรุงอีก 2 ห้อง ในปี 2559 ที่ผ่านมา มีประชาชนเข้ารับบริการ 3,417 คน อันดับ 1 คือผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก รองลงมาโรคทางอายุรกรรม ศัลยกรรมทั่วไป สูตินรีเวชกรรม โดยให้บริการผ่าตัดผู้ป่วย 2,506 ราย เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูก และสูติ-นรีเวช นอกจากนี้ ยังมีบริการคลินิกไตเทียม ได้รับสนับสนุนเครื่องฟอกไตจากโรงพยาบาลศูนย์ลำปางและสโมสรโรตารี่ลำปาง
สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีหมวดเกล้า ได้รับการพัฒนาให้เป็นคลินิกหมอครอบครัวในเขตเมืองต้นแบบแห่งแรกของจังหวัดลำปาง มีทีมหมอครอบครัว 3 ทีม มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประชากรในเขตรับผิดชอบ 30,000 คน เนื่องจากในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง มีประชากรมากกว่า 200,000 คน ได้มีแผนเร่งรัดผลิตแพทย์เวชศาสตร์ให้ครบ 17 คน เพื่อสามารถจัดบริการได้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด