“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 370 View
- อ่านต่อ
ศูนย์ปฏิบัติการร่วมการแพทย์และการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร(ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รายงานผลการปฏิบัติการด้านการแพทย์ ของหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติการภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์รวม 42 แห่ง
วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2559) นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินการเตรียมความพร้อม ประสานงานในการให้บริการ การจัดการทางการแพทย์ ทั้งภาวะปกติและกรณีเกิดเหตุวิกฤตทางการแพทย์ เพื่อดูแลประชาชนที่เดินทางมาถวายสักการะพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 31,848 คน ดังนี้ 1.ด้านร่างกาย มีผู้รับบริการ 30,523 คน ประกอบด้วย ให้บริการตามอาการเป็นลม ตะคริว อุบัติเหตุ ปฐมพยาบาลแจกยาดม/แอมโมเนีย 23,494 คน ทำแผล 153 คน ขอยา 6,376 คน ตรวจโรคและรักษา 1,281 คน อาทิ ปวดศีรษะ/เวียนศีรษะ ไข้ เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหลังปวดขา แพ้ ผื่นคัน เหนื่อย อ่อนเพลีย ปรึกษาสุขภาพ และนำส่งโรงพยาบาล 17 คน 2.ด้านสุขภาพจิตใจ มีผู้เข้ารับบริการ 27คน สรุปผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ 14 ตุลาคม – 19 พฤศจิกายน 2559 มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 824,867 คน เป็นการให้บริการด้านร่างกาย 780,821 คน และด้านจิตใจ 3,983 คน
โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติการจำนวน 42 แห่ง ประกอบด้วย 1.หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร 2.หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 3.สังกัดโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ และรพ.วชิรพยาบาล 4.สังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แก่สำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัด กรมแพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารบกและ โรงพยาบาลตำรวจ 5.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ รพ.จิตเวชนครพนม รพ.จิตเวชเลย รพ.ยุวประสารท สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน รพ.ราชวิถี สถาบันโรคทรวงอกและกลุ่มฉุกเฉินทางการแพทย์ รพ.พนม รพ.พระแสง รพ.เคียงซา สสจ.นครนายก 6.สังกัดกรุงเทพมหานครสำนักการแพทย์ได้แก่ รพ.เจริญกรุง รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ศูนย์เอราวัณ สำนักอนามัย ประกอบด้วยศูนย์ประสานงาน 1ถึง 6 และทีมสุขภาพจิต 7.แพทยสภา พอ.สว. สมาคมรพ.เอกชน 8.องค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ ได้แก่ มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู กู้ชีพกูบแดง มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร 9.สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และ10.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ขอให้ประชาชนเตรียมของใช้ส่วนตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทาง เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ยารักษาโรคประจำตัว พักผ่อนให้เพียงพอ ขอให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ค่อนข้างสบาย รองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัด ไม่กัด มีเพื่อนร่วมทางมาด้วย สำหรับเด็ก ขอให้เขียน ชื่อ พ่อ แม่ เบอร์โทร ติดต่อใส่กระเป๋าเด็กไว้ด้วย ถ้ามีอาการเจ็บป่วย สามารถรับบริการได้ที่จุดบริการด้านการแพทย์ รอบท้องสนามหลวงและจุดรับรองประชาชน15 จุด ได้แก่ บริเวณสนามหลวง ท่าช้าง ม.ธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) ท่าราชวรดิษฐ์(ประตูเทวาภิรมย์) หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน โรงละครแห่งชาติ วัดพระเชตุพนฯ วัดมหาธาตุฯ ข้างกระทรวงกลาโหม สำนักงานสลากินแบ่งรัฐบาล โรงเรียนสตรีวิทยา โลหะปราสาท ถนนกัลยาณไมตรี(กระทรวงการต่างประเทศ/สวนสราญรมย์) สนามม้านางเลิ้ง และหน้าศาลฎีกา หากมีข้อสงสัย ขอความช่วยเหลือ ติดต่อ สายด่วนกู้ชีพฉุกเฉิน 1669
**************** 20 พฤศจิกายน 2559