กระทรวงสาธารณสุข ชี้คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ยชม.ละ 30 คน เสียชีวิตเฉลี่ยชม.ละ 2 คน แนะนำประชาชนใช้เทศกาลถือศีลกินเจ กินอย่างถูกหลักโภชนาการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคหัวใจ ขอให้งดอาหารหมักดองอาหารกระป๋อง/แปรรูป อาหารรสหวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง

          วันนี้ (28 กันยายน 2559) ที่กระทรวงสาธารณสุข .นนทบุรี .คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย พญ.จิตสุดา บัวขาว ที่ปรึกษากรมการแพทย์ และนพ.สัญชัย ชาสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ร่วมแถลงข่าว “กินเจดูแลใจ ให้ไกลโรค” เพื่อให้ประชาชนกินเจอย่างสุขภาพดี ห่างไกลโรคหัวใจและโรคเรื้อรัง

          .คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ในวันที่ 29 กันยายนของทุกปีเป็นวันหัวใจโลก โดยสมาพันธ์หัวใจโลกกำหนดประเด็นรณรงค์ปีนี้ว่า เพิ่มพลังให้ชีวิต (Power your Life)  เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกประเมินความเสี่ยงตนเองและหันมาดูแลสุขภาพเพื่อหัวใจที่แข็งแรง อีกทั้งวันที่ 1-9 ตุลาคม 2559 เป็นเทศกาลกินเจ เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนจะรักษาศีล ปฏิบัติธรรม และไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ โดยงดการบริโภคเนื้อสัตว์ หันมากินผักผลไม้ ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและจิตใจ ช่วยลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต 17.5 ล้านคน คนไทยมีแนวโน้มการป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้น

          โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลในปี 2558 มีผู้เสียชีวิต 18,922 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ส่วนผู้ป่วยเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 คน ล่าสุดในปี 2559 มีผู้ป่วยรายใหม่ 10,957 คน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละกว่า 155,000 ล้านบาท  กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการทั้งด้านการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทุกเขตสุขภาพ มีสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์เป็นแม่ข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการรักษา ด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนอย่างรวดเร็ว ผลการดำเนินงานในปีนี้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้กว่าร้อยละ 90

          จึงขอให้ประชาชนใช้โอกาสเทศกาลถือศีลกินเจในการปรับพฤติกรรมสร้างสุขภาพ กินถูกหลักโภชนาการ ครบ 5หมู่ อย่างพอเพียง กินโปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร    

   


View 15    28/09/2559   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ