“สมศักดิ์” ประชุมผู้บริหาร สธ.นัดแรกปี 68 จัดเต็มของขวัญวันเด็ก-วันผู้สูงอายุ เพิ่มเข้าถึงการรักษาขั้นสูง ปลื้มมีคนนับคาร์บแล้ว 11.8 ล้านคน เดินหน้าให้ได้ 50 ล้านคน ภายในปี 2568
- สำนักสารนิเทศ
- 332 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุขประชุมทางไกลกับหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศเตรียมพร้อมรองรับกิจกรรมปั่นเพื่อพ่อทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ด้านสุขภาพ ลดการเจ็บป่วย การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุตลอดปี
วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2558) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อชี้แจง 3 เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการดังนี้ เรื่องที่ 1 การเตรียมพร้อมบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขรองรับกิจกรรม “ปั่นเพื่อพ่อ (Bike for Dad)” วันที่ 11 ธันวาคม 2558 ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วม 607,909 คน ในต่างจังหวัดให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้บัญชาการ ส่วนในกทม.กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับทหาร ตำรวจ โรงพยาบาลรัฐ ทั้งในและนอกสังกัด โรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิต่างๆ และ กทม.ซึ่งทั่วประเทศได้เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี โดยซักซ้อมระบบล่วงหน้า 1 – 2 สัปดาห์
กระทรวงสาธารณสุข ได้วางระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขไว้ ดังนี้ 1.ให้โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางปั่น รองรับกรณีอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 2.จัดทีมแพทย์ ประจำจุดที่วางแผนไว้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดเส้นทาง และ3.จัดทีมแพทย์จักรยานเคลื่อนที่และรถพยาบาลฉุกเฉิน ตามขบวนเพื่อดูแลผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยกำชับให้ทุกจังหวัดเตรียมระบบสื่อสาร ระบบสั่งการให้พร้อม สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ขอแนะนำผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนปั่น ควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงที่สุด โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ปั่นเป็นประจำ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และขณะปั่นหากรู้สึกเหนื่อย เพลีย ให้หยุดพักทันที และแจ้งให้ทีมแพทย์ดูแลทันที เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ ไม่สร้างความเสี่ยงขณะปั่น คือไม่แซงหรือถ่ายรูปตนเอง
เรื่องที่ 2 การดำเนินงานตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ด้านสุขภาพ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดรูปธรรม ขณะนี้ได้รวบรวม ทบทวนหน้าต่างแห่งโอกาสการเรียนรู้ เพื่อกำหนดความรู้ ทักษะพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญในแต่ละช่วงชั้นเรียน นำไปกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อลดการเจ็บป่วย การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพที่ดี เช่นปัญหาไข้เลือดออก จะมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรค ให้นักเรียนสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบาย ขับเคลื่อนการดำเนินงาน วิชาการ และติดตามกำกับประเมินผล ทั้งนี้ สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการได้ขอรับการสนับสนุนคือคู่มือการทำงาน สื่อ แหล่งการเรียนรู้และวิทยากร
เรื่องที่ 3 การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุตลอดปี ให้ทุกจังหวัดวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา หาจุดเสี่ยงจุดอันตรายในพื้นที่อย่างน้อยจังหวัดละ 5 จุด นำไปวางแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ กลยุทธ์ 5 ส. ได้แก่ 1.สารสนเทศ บูรณาการข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิต นำมาวิเคราะห์ให้ทราบสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง 2.สุดเสี่ยง ชี้จุดเสี่ยง จุดอันตรายที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา 3.สหวิชาชีพ บูรณาการการทำงานร่วมกันทุกวิชาชีพ 4.สุดคุ้มใช้ทรัพยากรในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา และ5.ส่วนร่วม ดำเนินงานโดยประชาชน ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ โดยจะประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
************************** 17 พฤศจิกายน 2558