“สมศักดิ์” ประชุมผู้บริหาร สธ.นัดแรกปี 68 จัดเต็มของขวัญวันเด็ก-วันผู้สูงอายุ เพิ่มเข้าถึงการรักษาขั้นสูง ปลื้มมีคนนับคาร์บแล้ว 11.8 ล้านคน เดินหน้าให้ได้ 50 ล้านคน ภายในปี 2568
- สำนักสารนิเทศ
- 331 View
- อ่านต่อ
รองนายกรัฐมนตรี ติดตามแผนเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ ให้ครอบคลุมกว้างขวาง รวมถึงโรคติดต่อใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กำชับคงระบบเฝ้าระวังโรคเมอร์สและ โรคอุบัติใหม่อย่างต่อเนื่องเข้มข้น รวมถึงการเฝ้าระวังผู้เดินทางจากพื้นที่ติดโรค พร้อมให้ความรู้และวิธีปฏิบัติการแก่ประชาชน เผยไทยมีจุดแข็งในงานควบคุมโรค มีทั้งสถานบริการทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วและอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมทำงานเฝ้าระวังโรค รวมทั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันนี้( 9 กรกฎาคม 2558)ที่ กระทรวงสาธารณสุข นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 ติดตามการจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อให้มีความครอบคลุมกว้างขวาง เช่นไข้หวัดนก อีโบลา ซาร์ส ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2012 โรคเมอร์ส รวมถึงโรคติดต่อใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกำชับให้คงระบบเฝ้าระวังโรคเมอร์สยยยย โรคอีโบลาและโรคอุบัติใหม่ต่างๆอย่างต่อเนื่องเข้มข้น รวมทั้งผู้เดินทางจากพื้นที่ติดโรค พร้อมให้ความรู้และวิธีปฏิบัติการแก่ประชาชน
นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนยกระดับความมั่นคงและความเป็นเลิศด้านควบคุมโรค ของประเทศ พ.ศ.2558-2562 เพื่อรองรับสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อ จากพฤติกรรมเสี่ยง และโรคจากการประกอบอาชีพ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยรวม เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปี 2552 ที่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ มากกว่า 28,000 ล้านบาท จีดีพีลดลงร้อยละ 0.1-0.3 ซึ่งไทยมีจุดแข็งในงานควบคุมโรค คือมีการวางรากฐานและพัฒนาระบบมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง มีทั้งโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุขเป็นเครือข่ายระดับพื้นที่และชุมชนทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมทำงานเฝ้าระวังโรค ความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ ยย มาตรการทางกฎหมายที่สำคัญ เช่น พ.ร.บ.โรคติดต่อ และเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนสถานการณ์โรคเมอร์สในไทยขณะนี้ไม่มีผู้ป่วยโรคเมอร์สและไม่มีการแพร่กระจายเชื้อในประเทศ แต่ไทยยังคงมีความเสี่ยงจากการเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ ทั้งไปประกอบพิธีทางศาสนา ทำธุรกิจ ประกอบอาชีพ และท่องเที่ยวในพื้นที่ติดโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมระบบรองรับอย่างเข้มแข็ง ทั้งการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองผู้เดินทางที่ด่านในทุกช่องทางเข้าออกประเทศ ความร่วมมือของชุมชน ทีมสอบสวนโรคในพื้นที่ระบบการวินิจฉัยและการรักษา ในโรงพยาบาล ห้องแยกโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556–2559) ครึ่งแผน พบว่าทั้ง 5 กระทรวงหลัก สามารถแปลงแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีกิจกรรมดำเนินการสอดคล้องกับแผนและยุทธศาสตร์ เช่น การเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคอุบัติใหม่ ตรวจสุขภาพสัตว์ป่า ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยง ซ้อมแผนเตรียมรับโรคติดต่ออุบัติใหม่ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน เป็นต้น
**************** 9 กรกฎาคม 2558