กระทรวงสาธารณสุข  เตือนผู้ปกครองระวังเด็กจมน้ำเสียชีวิต ช่วงปิดเทอม ข้อมูลในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ 2546-2556 พบเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  จมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยวันละเกือบ 4 คน  เฉพาะในช่วง 3 เดือนมีนาคม-พฤษภาคม  มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง  442 คน  จุดที่พบบ่อยคือ แหล่งน้ำธรรมชาติ หนองน้ำ คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ  อ่างอาบน้ำ ย้ำผู้ปกครองอย่าคิดว่าเป็นเรื่องเคราะห์กรรม  ต้องช่วยกันป้องกัน อย่าปล่อยเด็กเล่นน้ำตามลำพัง  โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจะจมน้ำง่ายแม้จะมีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ตาม  หัวใจสำคัญของการป้องกันคือเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปต้องได้เรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด  พร้อมเผยผลการประเมินการว่ายน้ำเป็นของเด็กไทย อายุ 5-14 ปี   ซึ่งมีกว่า 8 ล้านคนล่าสุดในปี2556  พบว่า มีว่ายน้ำเป็นประมาณ 2 ล้านคน   แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4 หรือ  367,704 คน   และเด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด  จะมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 21 เท่าตัว    แนะหากเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้ง 

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า  ในช่วงปิดเทอมเดือนมีนาคม-พฤษภาคม  เป็นช่วงอากาศร้อน เด็กๆมักนิยมไปเล่นน้ำเพื่อคลายร้อน ทำให้พบสถิติการจมน้ำมากที่สุด   ข้อมูล ในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ 2546-2556 พบเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตแล้วถึง 15,495 คน เฉลี่ยปีละ 1,291  คน หรือวันละเกือบ 4 คน  เฉพาะในช่วง 3 เดือนอันตรายซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมคือมีนาคม-พฤษภาคม มีเด็กเสียชีวิตจากตกน้ำ จมน้ำสูงถึง 442 คน  โดยกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30   แหล่งน้ำที่พบบ่อยประมาณร้อยละ 50 คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ หนองน้ำ คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ รองลงมาคือสระว่ายน้ำ พบร้อยละ 5 และอ่างอาบน้ำร้อยละ 3  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนการจมน้ำสูงสุด  รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ  ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำตายในเด็กและผู้ใหญ่นั้น มีความแตกต่างกัน โดยในกลุ่มเด็กเล็กมีความสัมพันธ์กับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก  ส่วนในเด็กโตมีความสัมพันธ์กับการเล่นน้ำ

นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาประชาชนไทยประมาณร้อยละ 42  ยังมองเรื่องการตกน้ำ จมน้ำเสียชีวิตว่าเป็นเรื่องของเคราะห์กรรม ซึ่งข้อเท็จจริงนั้น การตกน้ำ จมน้ำเป็นเรื่องที่ช่วยกันป้องกันได้   ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อย่าปล่อยเด็กเล่นน้ำตามลำพัง  แม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใกล้บ้านหรือแหล่งน้ำที่คุ้นเคยก็ตาม  

ควรให้ความรู้เด็ก  ควรสร้างรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำและติดป้ายคำเตือน รวมทั้งการจัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำ   ส่วนในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ปกครองต้องอย่าปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังแม้เสี้ยวนาที   ต้องมองเห็น เข้าถึงและคว้าถึงง่าย เพราะเด็กวัยนี้ จมน้ำง่าย เนื่องจากเด็กเล็กยังมีการทรงตัวไม่ดี  ยังไม่มีความพร้อมในการป้องกันตนเอง     จึงจมน้ำได้ง่าย แม้แหล่งน้ำมีน้ำเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่ในถังหรือกะละมังที่มีน้ำเพียง 1-2 นิ้วก็ตาม    ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนผู้ปกครองและเตรียมทีมแพทย์ให้การช่วยเหลือ  หากพบเห็นผู้จมน้ำสามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปี 2556 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ประเมินผลการว่ายน้ำเป็นของเด็กไทย อายุ 5-14 ปี ซึ่งมีกว่า 8 ล้านคน พบว่า เด็กว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 24 หรือประมาณ 2 ล้านคน   แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4 หรือ  367,704 คน  โดยเด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด  จะมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 21 เท่าตัว  และมีทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ   สามารถแก้ไขปัญหาและการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง  3 เท่าตัว   ดังนั้นการเรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการจมน้ำได้ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียน

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้จมน้ำเสียชีวิตมาก   ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการช่วยเหลือผิดวิธี ซึ่งมี 2 ช่วงคือ ขณะอยู่ในน้ำ         ซึ่งเด็กๆจะเล่นน้ำเป็นกลุ่ม  พอมีเพื่อนจมน้ำก็จะลงน้ำไปช่วยกันเอง โดยไม่มีความรู้ในการช่วยที่ถูกต้อง   และอีกช่วงคือการช่วยเด็กหลังนำขึ้นมาจากน้ำแล้ว  โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 93 ยังเข้าใจผิด คิดว่าการอุ้มพาดบ่าและกระแทกเอาน้ำออกเป็นเรื่องที่ถูกต้อง   ซึ่งในความจริง เป็นวิธีที่ผิด เนื่องจากจะทำให้ผู้จมน้ำ ขาดอากาศหายใจนานขึ้น   ควรรีบเป่าปากและนวดหัวใจ เพื่อให้หายใจได้เร็วที่สุด  ถ้าพบว่าหายใจเองได้หรือหายใจเองได้แล้ว ให้จับผู้จมน้ำให้นอนตะแคง  ให้ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก  และใช้ผ้าห่มคลุมตัวผู้ป่วย เพื่อให้ความอบอุ่น       งดน้ำและอาหาร และรีบส่งผู้ที



   
   


View 19    16/03/2557   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ