“สมศักดิ์” ประชุมผู้บริหาร สธ.นัดแรกปี 68 จัดเต็มของขวัญวันเด็ก-วันผู้สูงอายุ เพิ่มเข้าถึงการรักษาขั้นสูง ปลื้มมีคนนับคาร์บแล้ว 11.8 ล้านคน เดินหน้าให้ได้ 50 ล้านคน ภายในปี 2568
- สำนักสารนิเทศ
- 334 View
- อ่านต่อ
วันนี้(10 พฤศจิกายน 2556)ที่ โรงแรมคอนราด กทม. นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะประชุมคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ จาก 22 มหาวิทยาลัย และเจ้ากรมแพทย์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจหารือการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากลเป็นการวางแผนและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มียุทธศาสตร์ที่มีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อน เกิดการเชื่อมโยงอย่างเต็มที่ และช่วยให้การจัดสรรงบประมาณลงในแต่ละที่มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในด้านสุขภาพด้วยการเติมเต็มบริการขั้นพื้นฐานของสุขภาพ โดยได้มีการหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน โดยมี 4 ยุทธศาสตร์หลักคือ1.สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(Growth & Competitiveness)โดยการเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ 2.สร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (Inclusive Growth)เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 3.สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Growth)4.ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (Internal process)
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า เพื่อทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศมีมาตรฐานเทียบเท่าสากลและตอบคำถามว่าประชาชนจะได้อะไรจากการพัฒนาครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานงาน 13 ข้อ ดังนี้ 1.สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ และปัญหา/ความต้องการของประเทศ 2.เชื่อมโยงหรือสนับสนุนโครงการอื่นของรัฐบาล 3.มีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการโครงการ 4.กำหนดมาตรฐาน 5.ประเมินสถานภาพ6.กำหนดตัวชี้วัดเพื่อลดช่องว่าง 7.กำหนดกรอบและตารางเวลาชัดเจน8.บูรณาการระหว่างหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขและนอกระบบกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 9.การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน 10.พัฒนาครบวงจรโรงพยาบาล บุคลากร ยา เครื่องมือ รายได้ ความก้าวหน้า 11.มีความยั่งยืนของระบบ 12.ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม 13.เพิ่มคุณภาพชีวิต
โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ จนถึงระดับศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถใน 10 สาขาบริการที่เป็นปัญหาของประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ภายในเขตพื้นที่เครือข่ายบริการ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่มีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ(Inclusive Growth) และพัฒนาประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการแข่งขัน(Competitive Growth
-2-
สำหรับการให้ประเทศไทย มีระบบบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย(Modern Health Service Thailand ) ด้วยการเป็นศูนย์กลางบริการรักษาพยาบาลนั้น จะเน้นส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการ ในส่วนภาครัฐจะเน้นดำเนินการเป็นศูนย์กลางบริการวิชาการทางการแพทย์และงานวิจัย(Academic Hub) เพื่อเพิ่มความทันสมัยของระบบบริการสุขภาพของไทย หรือระบบบริการสุขภาพเพื่อความเป็นเลิศ ซึ่งดำเนินการ 3 ด้านคือ 1.การจัดการศึกษาระดับปริญญาและหลังปริญญา(Professional and Post graduate) 2.การพัฒนางานวิจัย( Research Center ) และ 3.การพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญ(Supper Specialist service) โดยเน้นการวางแผนและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กองทัพ
******************************************** 10 พฤศจิกายน 2556