“สมศักดิ์” ประชุมผู้บริหาร สธ.นัดแรกปี 68 จัดเต็มของขวัญวันเด็ก-วันผู้สูงอายุ เพิ่มเข้าถึงการรักษาขั้นสูง ปลื้มมีคนนับคาร์บแล้ว 11.8 ล้านคน เดินหน้าให้ได้ 50 ล้านคน ภายในปี 2568
- สำนักสารนิเทศ
- 332 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยหลังไทยประสบภัยหนาว พบจำนวนผู้ป่วย 7 โรคเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 -23 มกราคม 2556 ทั่วประเทศมีรายงานกว่า 20,000 ราย อันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน รองลงมาคือปอดบวม และไข้หวัด
วันนี้ (24 มกราคม 2556) นายแพทย์
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานตั้งแต่ 1-23 มกราคม 2556 ทั่วประเทศพบมีผู้ป่วยทั้ง 7 โรค ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล รวมทั้งหมด 21,745 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 16,745 ราย รองลงมา คือ โรคปอดบวม 3,037 ราย เสียชีวิต 4 ราย โรคไข้หวัด 660 ราย โรคสุกใส 631 ราย โรคมือ เท้า ปาก 628 ราย โรคหัด 40 ราย และโรคหัดเยอรมัน 4 ราย ตามลำดับ โดยเฉพาะโรคไข้หวัดและปอดบวม ที่พบผู้ป่วยมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอากาศหนาวเย็นกว่าที่อื่นๆ ตลอดปี 2555 ที่ผ่านมา ทั่วประเทศพบผู้ป่วยไข้หวัด จำนวน 60,449 ราย เสียชีวิต 4 ราย ส่วนผู้ป่วยโรคปอดบวมพบ 194,084 คน เสียชีวิต 1,255 คน
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคในฤดูหนาว และให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไตวาย โรคโลหิตจาง เป็นต้น เนื่องจากเสี่ยงเจ็บป่วยง่ายและเมื่อป่วยแล้วอาการจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป หากมีโรคติดต่อระบาดในพื้นที่ ให้ส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ลงไปควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ทันที
ทั้งนี้ ในการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคฤดูหนาว ประชาชนต้องสร้างภูมิคุ้มกันโรคอย่างเป็นนิสัย คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที การออกกำลังกายจะช่วยร่างกายทนต่อความหนาวเย็นได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หากป่วยเป็นไข้หวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย สวมเสื้อผ้า ผ้าพันคอ หมวกไหมพรม และถุงเท้า เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นเพียงพอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุและเด็ก ควรไปรับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หากมีอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ขอให้ไปพบแพทย์ทันที สำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากจะก่อให้เกิดอันตรายถึงเสียชีวิต ได้แก่ 1.การดื่มสุราเพื่อแก้หนาว 2.นอนในที่โล่งแจ้งลมโกรก 3.การผิงไฟในที่อับอากาศ 4.การนำเด็กเล็กเข้าไปใกล้ควันไฟและห่มผ้าคลุมศีรษะจนหมด ทำให้เด็กสำลักควันหมดสติได้ และ 5.การคลุกคลีกับใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
************************************* 24 มกราคม 2556