“สมศักดิ์” ประชุมผู้บริหาร สธ.นัดแรกปี 68 จัดเต็มของขวัญวันเด็ก-วันผู้สูงอายุ เพิ่มเข้าถึงการรักษาขั้นสูง ปลื้มมีคนนับคาร์บแล้ว 11.8 ล้านคน เดินหน้าให้ได้ 50 ล้านคน ภายในปี 2568
- สำนักสารนิเทศ
- 332 View
- อ่านต่อ
วันนี้( 20 ธันวาคม 2555 ) ที่องค์การเภสัชกรรมหรืออภ. กรุงเทพมหานคร นายแพทย์
โดยในระยะต้น จะให้อภ. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนยาและเวชภัณฑ์ ระหว่างโรงพยาบาล ที่มีปริมาณยาที่สต็อกไว้จำนวนมาก ไม่ได้ใช้ หรือมีมากเกินความจำเป็น รวมทั้งยาที่ใกล้หมดอายุ ผลที่ได้คือโรงพยาบาลจะได้เงินกลับคืนมา เป็นการเสริมสภาพคล่องโรงพยาบาลได้
นอกจากนี้ จะให้อภ.เข้ามาช่วยในการจัดซื้อยา ซึ่งจะทำให้เกิดอำนาจต่อรองกับบริษัทยามากขึ้น ทำให้ราคายาลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยจะเลือกยาบางกลุ่มที่มีราคาสูงมาก ประมาณ 20 ตัว เช่น ยาลดไขมัน ยาปฏิชีวนะ หรือยารักษาโรคหัวใจต่างๆเป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจกับบริษัทยาว่าจะมีการซื้อจริง อย่างไรก็ตามในการซื้อยาผ่านอภ. ไม่ได้ให้ซื้อทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ โรงพยาบาลสามรถซื้อขายกับบริษัทยาโดยตรงได้บางส่วน เพียงแต่ขอให้ซื้อในราคากลางที่อภ.ต่อรองไว้ และมีมาตรฐานเดียวกับอภ.ทั้ง การจัดส่งยาภายในเวลากำหนด การรับแลกเปลี่ยน คืนยาได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของการบริการ โดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะไม่ทำการค้าแข่งกับเอกชน แต่จะทำเฉพาะในยาที่สำคัญ ที่เป็นภาระของประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2556 นี้
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของโรงงานผลิตวัคซีนที่มีปัญหาอยู่นั้น ภายใน 6 เดือนแรกของปีนี้ ต้องจบหมด ได้แก่ 1. ด้านข้อตกลงเรื่องการสร้างโรงงานจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร 2.ความเป็นไปได้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ต้องชัดเจนว่าจะผลิตอย่างไร และผลิตจากเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย เมื่อได้ความชัดเจนแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาสร้างโรงงานอีกประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีจึงจะเสร็จ นอกจากนี้ได้มอบนโยบายให้อภ.ทำงานร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ อยากให้มีการผลิตที่เป็นส่วนต้นน้ำ โดยจะเริ่มต้นในตัวยาที่มีความจำเป็น และเป็นความมั่นคงของประเทศ ที่เหลือก็จะต้องกระตุ้นภาคเอกชนเข้ามาช่วยกันทำตามนโยบายของรัฐบาล
“เนื่องจากขณะที่ไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจะให้ใช้ยาชื่อสามัญหรือยาเจนเนอริกมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะมีการแข่งขันกัน สิ่งที่ไทยต้องพึ่งตนเองให้ได้คือการลดการนำเข้ายาดังกล่าว ซึ่งไทยมีการนำเข้ายาถึงร้อยละ 70 จะต้องเปลี่ยนสมดุลให้เป็นยาในประเทศร้อยละ 50-60 รวมทั้งต้องมีการกระตุ้นให้มีการผลิตยาชื่อสามัญในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการนำเข้า โดยดำเนินการควบคู่กับการควบคุมคุณภาพและราคาที่เหมาะสม โดยมอบให้อภ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพยา เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพ”นายแพทย์ประดิษฐกล่าว
****** 20 ธันวาคม 2555