“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 439 View
- อ่านต่อ
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีคุณภาพ เพื่อลดโรค ลดการเจ็บป่วยของประชาชน ลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยใช้กลไกของเครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งกำหนดไว้ 12 พวงเครือข่ายบริการใหญ่ เครือข่ายละ 5-8 จังหวัด และในเครือข่ายบริการสุขภาพพวงเล็กหรือระดับอำเภอ ประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัย มีหมอใกล้บ้าน ใกล้ใจ หรือหมอประจำตัว พึ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบส่งต่อผู้ป่วยภายในแต่ละเครือข่าย และคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการของเครือข่ายระดับอำเภอคือ 1.มีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ ด้วยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับสาธารณสุขอำเภอ เชื่อมโยงกับประชาชนในชุมชน 2.มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเช่น บุคลากร งบประมาณ เทคโนโลยี หรือเครื่องมือต่างๆ 3.มีการจัดบริการสุขภาพที่จำเป็นของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความต้องการแตกต่างกัน 4.มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในเครือข่าย และ5.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในท้องถิ่นไม่ให้เจ็บป่วย
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่มีกว่า 700 แห่ง ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบปฐมภูมิของไทยเกิดความเข้มแข็ง เนื่องจากอำเภอเป็นพื้นที่ขนาดพอเหมาะ มีทรัพยากรเพียงพอ เข้าถึงได้ง่ายที่สุด โดยการปฏิรูปและส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ จนถึงระดับสูงคือตติยภูมิ จะต้องพัฒนาไปพร้อมกันทุกๆด้าน เชื่อมโยงข้อมูลกันเป็นเครือข่ายในระดับจังหวัด เขต และระดับภาคไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านบุคลากร และคุณภาพบริการแบบเบ็ดเสร็จ โดยโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้ประชาชนในพื้นได้รับบริการที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน สามารถเชื่อมโยงการบริการกับระบบสาธารณสุขระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้เครือข่ายสุขภาพทั่วประเทศ จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการภายในเครือข่ายระดับเขต ซึ่งมีทั้งหมด 12 เครือข่าย แล้วนำเสนอที่ส่วนกลางทั้งด้านการวิเคราะห์ระบบบริการที่ยังบกพร่อง และเสนอแผนการลงทุนสิ่งก่อสร้างและเครื่องมือแพทย์ ครุภัณฑ์ และแผนการจัดอัตรากำลังบุคลากรที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนทุกพื้นที่ได้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยในปีงบประมาณ 2556 จะเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการในเครือข่ายระดับอำเภอ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ระบบเครือข่ายการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งอำเภอระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2.การพัฒนาบุคลากรในรพ.สต.ให้มีหมอประจำตัว ติดต่อได้ตลอดเวลาโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และ3.ใช้หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวมาเป็นแนวทางในการให้บริการ ขณะนี้มีพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งอำเภอ 22 อำเภอเช่น อ.หนองจิก อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อ.แก่งคอย อ.ดอนพุด จ.สระบุรี อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ อ.ปัว จ.น่าน
***************************** 20 ธันวาคม 2555