“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 451 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (14 ธันวาคม 2555) นายแพทย์
นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า ในช่วงประมาณ 7 เดือนมานี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยโรคคอตีบในหลายพื้นที่ ในภาคเหนือพบที่จังหวัดเพชร บูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครราชสีมา มหาสารคาม และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 41 ราย ร้อยละ 90 เป็นผู้ใหญ่และเด็กโต และในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาพบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มเพียง 5 รายเท่านั้น เนื่องจากระบบการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สาเหตุที่ไทยพบผู้ป่วยโรคคอตีบเกิดขึ้นอีก หลังจากที่โรคนี้หายไปจากประเทศประมาณ 20 ปี คาดว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงาน และการไม่ได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ครอบคลุม ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารเข้าถึงยาก เช่น ภูเขาสูง ชายแดน เป็นต้น
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า ในการรับมือกับปัญหาระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งวอร์รูมติดตามเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาโรคคอตีบ โดยจัดทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแก่แพทย์ผู้รักษาตลอด 24 ชั่วโมง จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคคอตีบ ออกค้นหาผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสงสัยอาจจะป่วย ในพื้นที่ที่เสี่ยง เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา รวมทั้งออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ประชาชนทุกคนในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย พบว่าได้ผลดี ส่วนมาตรการป้องกันโรคในระยะยาว ได้หารือคณะผู้เชี่ยวชาญ เห็นชอบ 2 มาตรการ ที่จะทำให้ระบบการป้องกันโรคคอตีบของประเทศมีความแข็งแกร่ง คือ 1.ให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบกระตุ้นในผู้ใหญ่ทุกๆ 10 ปี เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ตามธรรมชาติจะลดลงร้อยละ 1 ต่อปี เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่ายิ่งอายุมากภูมิคุ้มกันยิ่งเหลือน้อย ในกลุ่มอายุมากกว่า 20 ปี จะมีระดับภูมิต้านทานโรคคอตีบเหลือเพียงร้อยละ 51-64 ขณะที่อายุต่ำกว่า 10 ปี จะมีระดับภูมิต้านทานร้อยละ 95
มาตรการที่ 2 เสนอใช้วัคซีนสูตรผสมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักหรือวัคซีนดีที (dT) ในเข็มเดียวกัน มาฉีดแทนวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (TT) อย่างเดียว ในผู้ที่มีบาดแผลและกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ฉีดเข็มเดียวป้องกันได้ 2 โรคพร้อมๆกัน เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันโรคได้ ขณะนี้ได้เตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งจะประชุมในเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาและให้มีผลทางการปฏิบัติโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปอย่าได้กังวลในการกลับมาของโรคคอตีบ เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว และขอให้ทำร่างกายให้แข็งแรง ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล หมั่นล้างมือบ่อยๆ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร ที่สำคัญโรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ขอให้ประชาชนพาลูกหลานไปฉีดวัคซีนตามแพทย์นัด ให้ครบตามเกณฑ์กำหนดคือ 6 ครั้ง เริ่มตั้งแต่อายุอายุ 2 เดือน จนถึงอายุ 12-16 ปี และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี ส่วนในหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการฉีดวัคซีน 3 ครั้ง นอกจากนั้นโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อทางน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ดังนั้นวิธีการป้องกันทำได้ง่ายๆ โดยการมีสุขอนามัยที่ดี ผู้ป่วยเวลาไอ จาม ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ภาชนะหรือเครื่องใช้ส่วนตัวปะปนกับผู้อื่น หากป่วยให้หยุดทำงาน หยุดโรงเรียน พักอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหาย หากมีอาการไข้ เจ็บคอ โดยเฉพาะถ้าไม่มีน้ำมูก ควรรีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจว่ามีฝ้าขาวในคอหรือไม่ หากมีก็จะสงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ และจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาอื่นๆต่อไป
ทางด้านนายแพทย์
************************************************ 14 ธันวาคม 2555