ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค  พร้อมเริ่มปฎิบัติงาน 1 มกราคม 2555
วันนี้ (23 ธันวาคม 2554) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบนโยบายแนวทางการปฎิบัติราชการของกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2555  แก่ผู้บริหารในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศ อธิบดี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามคำรับรองการปฎิบัติ ราชการ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุข
 
นายวิทยากล่าวว่า นโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงระบบบริการ การสร้างระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการผลิต พัฒนาบุคคลและสร้างขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพทั่วถึง เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ   ทุกกรมกองในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องวางแผนการทำงานให้สอดรับกับนโยบายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่นโยบายที่แถลงกับรัฐสภา และสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน   โดยบุคลากรสาธารณสุขเป็นปัจจัยหลักที่จะผลักดันและพัฒนางานสาธารณสุขให้เกิดความสำเร็จเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เริ่มปฎิบัติตั้งแต่ 1 มกราคม 2555
 
สำหรับนโยบายการบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 มี 16 ข้อย่อย ประกอบด้วย 1.พัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เช่น โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงฯ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว       โครงการ ทูบี นัมเบอร์วัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของกรมวิชาการหลายกรม 2.เพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ทั่วถึง    เป็นธรรม สร้างระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพ 3.เร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย ตายและผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ซึ่งโรคเหล่านี้สัมพันธ์กับอาหาร ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแลตั้งแต่แหล่งกำเนิดของอาหาร  4.เร่งรัดดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และอาหารปลอดภัย5.เตรียมความพร้อม พัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัย การจัดการที่มีประสิทธิผล ทันการณ์ เมื่อเกิดภัยพิบัติ โรคระบาด และภัยสุขภาพ 6.มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น เช่น แรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานเพื่อนบ้าน จัดงบประมาณเข้าไปดูแล7.สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนโดยสนับสนุนอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย8.สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับโดยปรับระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมและความก้าวหน้าในวิชาชีพที่เป็นธรรม สร้างกลไกพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ลดความเสี่ยงทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ 9.เพิ่มการลงทุนในระบบบริการทุกระดับ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น มุ่งเน้นการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท 10.ส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ11.ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Huband Wellness) และระบบโลจิสติกส์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย 12.สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการสุขภาพ 13.พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้มีคุณภาพและบริการข้อมูลสุขภาพ สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ 14.พัฒนา ผลักดันและการบังคับใช้กฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุข 15.จัดตั้งศูนย์บำบัด ฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ควบคุม ป้องกันการใช้สารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่16.จัดให้มีการสื่อสารสาธารณะ ด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
                                   ************************ 23 ธันวาคม 2554


   
   


View 12    23/12/2554   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ