ไปรักษาต่อที่บ้านได้ เตือนพ่อแม่ผู้ปกครองให้พาบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบได้ฟรี ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
วันนี้(9 กันยายน 2553) ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเยี่ยมเด็กหญิงจรินทร์นุช ภิราพิล หรือน้องน้ำตาล อายุ 10 ปี ที่ป่วยด้วยโรคไข้สมองอักเสบ และได้รับตัวเข้ารับการรักษาต่อที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ว่าการการรายงานของแพทย์ผู้รักษา พบว่าน้องน้ำตาลมีอาการดีขึ้น มีพัฒนาการดีขึ้น มีการตอบสนองที่ดีขึ้นเป็นทางบวกตามลำดับ ซึ่งเดิมน้องน้ำตาลก็มีการตอบสนองที่ดีตั้งแต่รักษาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่แล้ว แต่เป็นการรักษาตัวที่บ้าน เมื่อรับเข้ามารักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ แพทย์ผู้รักษาวางแผนที่จะให้อยู่ประมาณ 1-2 เดือน ด้วยวิธีการด้านโภชนาการ เพราะเท่าที่ตรวจสอบพบว่ามีภาวะขาดสารอาหาร ร่างกายผอม ควบคู่ไปกับกายภาพบำบัด การให้ยาปรับสภาพทางอารมณ์ เพราะมีอาการชักเกร็งบ่อย จะช่วยลดอาการเกร็งได้ และการรักษาวิธีอื่นๆ มั่นใจว่า 1-2 เดือน จะมีพัฒนาการทางบวก แล้วจะให้กลับไปรักษาต่อที่บ้าน โดยจะแนะนำวิธีการดูแลให้กับคุณป้าและคุณย่า เพื่อให้สุขภาพจิตเด็กดีขึ้นด้วย อย่างน้อยก็ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานเกินความจำเป็น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากการรายงานพบว่าแต่ละปีมีเด็กป่วยเป็นไข้สมองอักเสบ ปีละ 300 ราย ในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เสียชีวิต 1 ใน 3 พิการ และ 1 ใน 3 รักษาหาย ในกรณีน้องน้ำตาลหวังว่าจัดอยู่ในกลุ่มที่รักษาหาย ขอขอบคุณกรมการแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลน้องน้ำตาลเป็นอย่าง และขอเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนให้พาลูกไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 1 ขวบ เข็มที่ 2 อายุ 1 ขวบ 1 เดือน และเข็มที่ 3 อายุ 2 ขวบ 1 เดือน ต้องฉีดให้ครบ 3 เข็ม จะช่วยสร้างภูมิต้านทานเมื่อได้รับเชื้อจะไม่เจ็บป่วย ส่วนกรณีของน้องน้ำตาลตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ
ด้านนายแพทย์สมจิต ศรีอุดมขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเด็ก แพทย์ผู้เป็นเจ้าของไข้ กล่าวว่า กรณีน้องน้ำตาล จากการตรวจร่างกายพบว่า สมองกส่วนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่เป็นส่วนของกล้ามเนื้อ แต่ด้านการรับรู้เสียหายไม่มาก มีปัญหาในส่วนการเคลื่อนไหว ทำให้มีการเกร็ง แต่มีโอกาสฟื้นฟูได้ ใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ส่วนอาการเกร็งสามารถปรับให้ดีขึ้นได้ภายใน 1-2 เดือน ควบคู่กับการฝึก สามารถกลับไปฟื้นฟูต่อที่บ้านได้ โดยต้องทำอย่างต่อเนื่องและนัดผู้ป่วยมาพบเป็นระยะ
*********************************************** 9 กันยายน 2553
View 15
09/09/2553
ข่าวเพื่อมวลชน
สำนักสารนิเทศ