สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
- สำนักสารนิเทศ
- 617 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2553) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลข กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว และมีมติให้ส่งกฤษฎีกาตามขั้นตอน กระบวนการตามกฎหมาย
นายจุรินทร์กล่าวว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้จะเป็นกฎหมายที่จะยกระดับงานด้านการควบคุมป้องกันโรคขึ้นเป็นวิชาชีพ เพราะก่อนหน้านี้มีทั้งหมด 6 วิชาชีพ ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นหลัก และพระราชบัญญัตินี้จะครอบคลุมเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งสถานีอนามัยทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ที่รอคอยกันมาเป็นเวลานาน ขณะนี้ก็ถือว่าได้นับหนึ่งอย่างเป็นทางการ โดยจะมีการตั้งสภาวิชาชีพขึ้นมาเพื่อควบคุมการปฏิบัติหน้าที่กันเอง ทั้งในส่วนของภารกิจที่จดทะเบียนและออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ขณะเดียวกันกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งการควบคุมจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพสาธารณสุข กฎหมายฉบับนี้จะมีหลักการสำคัญคือจะต้องไม่ไปซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว 6 วิชาชีพ เช่น แพทยสภา เภสัชกรรม สภาการพยาบาล เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นการสกัดกั้นวิชาชีพใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า หลังจากพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ มีระยะเวลาบทเฉพาะกาล 60 วัน โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะทำหน้าที่นายกสภาไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาฯเสร็จสิ้น และมีการเลือกนายกสภาต่อไป ตามพระราชบัญญัติ
“การมีพระราชบัญญัตินี้ จะช่วยให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีมาตรฐาน มีกรอบจรรยาบรรณควบคุมโดยใช้หลักการของการจัดตั้งสภาวิชาชีพการสาธารณสุขเพื่อควบคุมกันเอง ก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนและผู้รับบริการ ต่อไปนี้ก็จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพมีมาตรฐานกำหนด ไม่ใช่ว่าปฏิบัติแบบรวม ๆ เหมือนกับปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติไม่ดี แต่การมีพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เป็นการพัฒนามาตรฐานจรรยาบรรณอีกระดับหนึ่ง ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น” นายจุรินทร์ กล่าว