สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
- สำนักสารนิเทศ
- 624 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2553) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง “ความร่วมมือในการจัดหาสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้บริโภค ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นพยาน
นายจุรินทร์กล่าวว่า ผลการสุ่มตรวจอาหารจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ในปี 2552 พบว่า มีสารปนเปื้อนตกค้างในอาหารในปริมาณที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ พบจุลินทรีย์ร้อยละ 19.46 อัลฟ่าท็อกซินหรือเชื้อราที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งร้อยละ 10.2 น้ำมันทอดซ้ำร้อยละ 4.76 สารเร่งเนื้อแดงร้อยละ 3.1 ยาฆ่าแมลงร้อยละ 2.67 นอกจากนี้ยังพบสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน สารกันราอีกด้วย ซึ่งโรงพยาบาลก็ต้องจัดหาวัตถุดิบที่ขายในท้องตลาดและมีสารดังกล่าว มาประกอบอาหารให้ผู้ป่วยบริโภคในโรงพยาบาล โดยอาหารที่มีคุณภาพ จะมีผลฟื้นฟูให้ผู้ป่วยหายเร็วยิ่งขึ้น
นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือของ 2 กระทรวงในวันนี้ เพื่อให้โรงพยาบาลได้มีโอกาสซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุข จะประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการควบคุมการผลิตให้ปราศจากสารเคมี เพื่อให้โรงพยาบาลได้นำมาปรุงเป็นอาหารบริโภคที่ปลอดภัย ทั้งนี้ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการโรงครัวอาหารปลอดภัยได้มาตรฐาน ครบทุกแห่งภายในปี 2554 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และคุ้มครองความปลอดภัยและคุณภาพอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข มีโรงพยาบาลต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในการรับซื้อวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในจังหวัด เพื่อนำมาประกอบอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ประสบการณ์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือคือโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ภาคกลาง คือโรงพยาบาลราชบุรี ภาคอีสาน คือโรงพยาบาลขอนแก่น และภาคใต้คือโรงพยาบาลหาดใหญ่ จ. สงขลา โดยเฉพาะ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลต้นแบบอาหารปลอดภัยแห่งแรก นอกเหนือจากการนำสินค้าจากฟาร์มเกษตรกรมาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารให้ผู้ป่วยแล้ว หากมีผลผลิตเหลือจำหน่าย โรงพยาบาลได้อนุญาตให้เกษตรกรผู้ผลิต นำสินค้ามาขายในโรงพยาบาลได้ โดยเปิดมุมจำหน่ายหรือตลาดนัดสินค้าปลอดภัยสารพิษในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้มารับบริการหรือผู้บริโภคทั่วไป ได้ซื้อสินค้าที่ปลอดภัยไปบริโภคที่บ้านต่อไป