วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 15.00 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม เพื่อติดตามสถานการร์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ครั้งที่ 2/2567 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting จากห้องประขุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานในกำกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทั้ง 12 อำเภอ

       นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบข้อสั่งการจากการประชุมทางไกล (Web Conference) ติดตามสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (พายุ “ยางิ”) โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม (วันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น.) ซึ่งได้เน้นย้ำการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงประเมินสถานบริการที่อาจเสี่ยงได้รับผลกระทบ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับได้อย่างทันเหตุการณ์ เน้นย้ำการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม อาทิ กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู โรตาแดง และโรคไข้เลือดออก การเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุจมน้ำ ไฟฟ้าช็อต การดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในศูนย์พักัพิงชั่วคราว ทั้งนี้ ให้คำนึ่งถึงความปลอดภัยของบุคากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำคัญ 

        ในส่วนของพื้นที่ที่สถานการณ์น้ำลดลง หรือภายหลังเกิดสถานการณ์ ให้เร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูหลังน้ำลด ดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และเฝ้าระวังปัญหาโรคระบาด ประเมินความเสียหายสถานบริการที่ได้รับผลกระทบ สำรวจความแข็งแรงของอาคาร และสิ่งก่อสร้างที่เป็นอันตราย พร้อมซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย ครอบคลุมการฟื้นฟูสภาพทั้งโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม และสุขภาพกาย สุขภาพใจ เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุด พร้อมเตรียมความพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกัน เวชภัณฑ์และยา ที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที 

       นอกจากนี้ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมทราบข้อสั่งการจากการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรายงานการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม รวม 12 กลุ่มภารกิจ 

    สำหรับรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดนครพนม ประจำวันที่ 15 กันยายน 2567 (เวลา 15.00 น.) พื้นที่เฝ้าระวังผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอบ้านแพง ศรีสงคราม นาหว้า ท่าอุเทน เมืองนครพนม และเรณูนคร และพื้นที่เฝ้าระวังใกล้ชิด 2 อำเภอ คือ อำเภอนาทม และอำเภอธาตุพนม ซึ่งยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงทางร่างกายและสุขภาพ พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย 4 อำเภอ 31,857 ไร่ มีการจัดเตรียมศูนย์พักพิง 7 อำเภอ 23 แห่ง รองรับได้ 10,000 คน โดยยังไม่มีสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบ ในส่วนของการเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเปราะบาง จากการสำรวจพบผู้ป่วยฟอกไต จำนวน 687 ราย ผู้ป่วยติดบ้าน 716 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 111 ราย ผู้พิการ 5,236 ราย รวม 6,750 ราย สำหรับโรคและภัยสุขภาพที่พบจากการรักษาสะสม ไข้หวัดใหญ่ 235 ราย อุจาระร่วง/อาหารเป็นพิษ 58 ราย เมลิออยโดซิส 7 ราย ไข้เลือดออก 30 ราย ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้ทุกพื้นที่ติดแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด


Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/Zmn2FxABAUtxXzDL/?mibextid=qi2Omg

 



   
   


View 170    15/09/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม