โรงพยาบาลเสนา เข้าร่วมงานวิ่ง CPF&KASETPHAND RUN 2024 เยือนถิ่นออเจ้า บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทย
- โรงพยาบาลเสนา
- 16 View
- อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 09.29 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 2/2567 ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี จัดประชุมฯ ณ ห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ซึ่งที่ประชุมได้หารือติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวันรุ่ยจังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ 2566-2567 และติดตามโครงการขอรับเงินกองทุนคุ้มครองเด็ก ประจำปี 2567
สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เขตสุภาพที่ 8 และจังหวัดนครพนม ประจำปี 2567 รวมทั้งติดตามการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ 5 กระทรวงหลัก และกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 และร่วมกันพิจารณาทบทวนคำสั่งคณะอนุกรรมการฯ ปี 2568-2570 และการถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ 5 กระทรวงหลัก และกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของจังหวัดนครพนม โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี ได้รายงานสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เขตสุภาพที่ 8 พบว่า อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 12.25 ปี เด็กหญิงแม่คลอดอายุน้อยสุด 9 ปี ปัญหาที่พบในมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ คือ ทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด ภาวะตายปริกำเนิด ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี พัฒนาการล่าช้า ด้านครอบครัว รู้สึกอับอาย ไม่ยอมรับการตั้งครรภ์ ส่งเสริมให้ไปทำแท้งเถื่อน (บางราย) เป็นภาระครอบครัว ด้านมารดา การใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้น มีภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การแท้ง คลอดก่อนกำหนด การตกเลือดหญิงหลังคลอด และด้านสังคม ออกจากโรงเรียนกลางคัน สูญเสียรายได้ในอนาคต
สำหรับสถานการณ์การเฝ้าระวังการตั้งครรถ์ในวัยรุ่น เขตสุขภาพที่ 8 พบว่า 83.2% อยู่กับสามี 40.5% ก่อนตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มนักเรียน 17.3% ไม่รู้จักวิธีคุมกำเนิด 61.7% แม่วัยรุ่นฝากครรภ์ช้า สถานะทางการศึกษา 36.1% หยุดเรียน-ลาออก 22.3% เรียนในสถานศึกษาเดิม 16.9% พักการศึกษาชั่วคราว 23% เรียนนอกระบบการศึกษา โดย 67.5% ไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ และอาชีพหลังตั้งครรภ์พบว่า ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 19.2 เป็นลูกจ้าง ร้อยละ 7.7
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยทุกโรงพยาบาลให้บริการวางแผนครอบครัวให้กับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทุกราย (บริการคุมกำเนิดฟรี) คณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อน พรบ.การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ทุกสถานบริการจัดบริการที่ป็นมิตรกับวัยรุ่น (YFHS) และเข้าถึงง่าย ศูนย์ช่วยเหลือวัยรุ่นให้คำปรึกษาและช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม/ละเมิด รพ.นครพนม จัดตั้งคลินิกตั้งครรภ์ไม่พร้อม พัฒนาระบบติดตามการตั้งครรภ์ซ้ำ ตั้งครรภ์ไม่พร้อมรายบุคคล นำปัญหาสู่เวที พชอ./ พชต. ขับเคลื่อนด้วยงบกองทุนสุขภาพระดับตำบล
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจึงหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/UkVPGLNj6XVStmgG/?mibextid=qi2Omg