สสจ.ร้อยเอ็ด เยี่ยมเสริมกำลังใจทีมปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน รพ.โพนทอง
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
- 3 View
- อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลชมรมผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย พร้อมคณะฯ ปฎิบัติราชการลงพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อติดตามและประเมินผลชมรมผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย "ชมรมผู้สูงอายุตำบลพระซอง" อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยมีนางรณิดา เหลืองฐิติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงาน ณ ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุตำบลพระซอง (วัดพระซองน้อย) อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ชมรมผู้สูงอายุตำบลพระซอง เป็น 1 ใน 165 แห่ง ของสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดนครพนม และได้รับคัดเลือก 1 ใน 4 ชมรมระดับประเทศ มีการขับเคลื่อนตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งชมรมผู้สูงอายุตำบลพระซอง ร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน ทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย มีผลการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ เป็นที่ประจักษ์สร้างสรรค์เพื่อให้ผู้สูงอายุในตำบลพระซอง มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ไม่ติดบ้าน ติดเตียง จนนำไปสู่การได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนในระดับเขตสุขภาพที่ 8 เข้าร่วมประกวดพื้นที่ต้นแบบดีเด่น เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
สำหรับกิจกรรมนำเสนอรับการติดตามและประเมินผลชมรมผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย "ชมรมผู้สูงอายุตำบลพระซอง" ได้จัดบูธนิทรรศการนำเสนอ บูธที่ 1 การสาธิตการผลิตเกลือสินเธาว์ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น บูธที่ 2 เกลือสมุนไพรแช่เท้า : และต่อยอดทำเกลือสมุนไพร เกลือสปาแช่เท้า การทำลูกประคบ เพื่อลดปัญหา/ บรรเทา อาการปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดเมื่อย จากการทำอาชีพผลิตเกลือของประชาชน บูธที่ 3 หัตกรรมสร้างงานสร้างอาชีพของชมรมผู้สูงอายุ : สาธิตการสานตะกร้า สานกระติบข้าว ทำไม้กวาด ทำหมวก ช่วยลดปัญหาหลงลืมในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นการสร้างสัมพันธภาพของผู้สูงอายุในชมชนและยังสามารถสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าในตัวเอง
บูธที่ 4 อาหารเป็นยา : สาธิตการทำลาบปลาตอง การทำน้ำพริกปลารัาสมุนไพร ซึ่งเป็นเมนูชูสุขภาพ เมนูอาหารที่อุดมไปด้วยสมุนไพร รวมถึงผักที่กินแนมคู่กันจะเป็นผักสมุนไพรในชุมชนที่หาได้ไม่ยาก และทั้ง 2 เมนูเหมาะกับการส่งเสริมสุขภาพ ตามหลักการกินเป็นยา บูธที่ 5 สวนสาธิตสมุนไพร/ ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร : เป็นสมุนไพรที่มีในวัดพระซองน้อย และบางชนิดเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีในทุกครัวเรือน และที่สำคัญเป็นส่วนประกอบในการประกอบเมนูเกือบทุกมื้อของคนในชุมชน บูธที่ 6 การสาธิตการทำขันหมากเบ็ง และพระธาตุประจำวันเกิด 7 พระธาตุ ซึ่งมีครบในจังหวัดนครพนม ขันหมากเบ็ง ใช้เพื่อประกอบในพิธีทางความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นทางพุทธศาสนา เช่น ใช้ประกอบเป็นเครื่องบูชาในกัณฑ์เทศน์ บูชาพระสงฆ์ พระพุทธรูป สถูป เจดีย์หรือธาตุ และยังสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีให้คงอยู่คู่ชุมชน
บูธที่ 7 กราบนมัสการหลวงพ่อพระซอง และถวายสังฆทานเจ้าอาวาส : ซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ปางสมาธิ ศิลปะขอมโบราณ มีความเก่าแก่อายุกว่า 2,000 ปี ท่านพระครูวรพิพัฒนกิจ (สง่า) เจ้าอาวาสวัดพระซองน้อย และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้าน ประเภทหมอสมุนไพร เมื่อปี 2566 ท่านมีองค์ความรู้ในเรื่องสมุนไพร และยังร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย ถอดบทเรียนใบลานในการรักษาโรค บูธที่ 8 (ศาลาการเปรียญ) เอกสารผลงานชมรมและบูธที่ 9 นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กะลากดจุด ยางยืดเพื่อสุขภาพ
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/fUwm2yqwAJKXmDBx/?mibextid=qi2OmgFacebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/RWtPaZqZPrKMEwD7/?mibextid=A7sQZpFacebook: โอเค-นครฯ
https://www.facebook.com/share/p/oaybFyEEsTepR1Dd/?mibextid=qi2Omg