วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการหมอกควันไฟป่าและ PM2.5 จังหวัดเชียงราย ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นายแพทย์คงศักดิ์ ชัยชนะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และนายศักดิ์ดา ธานินทร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงราย โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานแถลงข่าว

จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตั้งแต่ห้วงเดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นต้นมา และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน มีประกาศห้ามการเผาในที่โล่งทุกชนิดโดยเด็ดขาด “76 วันปลอดการเผา” ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 เพื่อควบคุมและป้องกันการสะสมของมลพิษทางอากาศ อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

ด้านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า การดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบ (Prevention) ติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพอากาศ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์การป้องกัน ตนเอง สร้างความรอบรู้ และสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชน เพื่อจัดการสุขภาพ ส่งเสริมองค์กร GREEN/SECA การเตรียมพร้อมระบบบัญชาการเหตุการณ์ ICS แผน Hazard Specific Plan : HSP ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ซักซ้อมการปฐมพยาบาล อาสาสมัครดับไฟป่า สำรวจจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง (เด็กเล็ก 0-5 ปี ,หญิงตั้งครรภ์ ,ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว) จำนวน 325,961 ราย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จำนวน 208,044 ชิ้น ส่งเสริมการขับเคลื่อนกฎหมาย พรบ.สาธารณสุข พ.ศ.2535 (สนับสนุนการประกาศเขตควบคุมเหตุรำคาญ ของ อปท.) เตรียมความพร้อมระบบรักษาส่งต่อผู้ป่วย การรับมือเร่งสื่อสาร แจ้งเตือน สร้างความรอบรู้ เปิดคลินิกมลพิษ ห้องปลอดฝุ่น ปรับระบบนัด telemedicine จัดระบบปฏิบัติเชิงรุก (ทีม 3 หมอ/หน่วย แพทย์เคลื่อนที่/จัดหน่วยปฏิบัติการดูแล ประชาชน) ซึ่งได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ (PHEOC) ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 การสนับสนุน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (N95,Sugical Mask) ให้แก่ประชาชน และกลุ่มเสี่ยง การยกระดับการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฯ สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง (โรงพยาบาล รพ.สต.ทุกสังกัด ) เปิดให้บริการคลินิกมลพิษตลอด 24 ชั่วโมง ปรับระบบทางการแพทย์ Telemedicine/รับยาที่บ้าน อสม.เคาะประตูบ้าน/หน่วยงานสาธารณสุข สื่อสารความรอบรู้ในการป้องกันตนแอง การฟื้นฟู ถอดบทเรียน สรุปการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานในระยะถัดไป

ทั้งนี้ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประจำปี 2567 การสนับสนุนหน้ากากอนามัยให้ประชาชน/กลุ่มเสี่ยง จำนวน 232,000 ชิ้น ห้องปลอดฝุ่น ระดับ 2 (ระบบกรองอากาศ) สถานบริการสาธารณสุข 251 แห่ง (100%) 1,188 ห้อง ระดับ 3 (ระบบแรงดันบวก) จำนวน 40 ห้อง 7 แห่ง โครงการห้องปลอดฝุ่นอุ่นใจ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 119 แห่ง คลินิกมลพิษ มีผู้รับบริการ Onsite 610 ราย และผู้รับบริการ Online 624 ราย การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก อสม.เยี่ยมกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม (เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว) จำนวน 301,017 ครั้ง การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค (โรคหัวใจและหลอดเลือด COPD หอบหืด) เยี่ยมแล้ว 12,162 ราย สามารถดำเนินการเองได้ 7,899 ราย ต้องการให้ อปท.สนับสนุน 4,263 ราย การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนความเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งเตือนสถานการณ์ จำนวน 2,780 ครั้ง จัดทำสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) การเฝ้าระวัง และการตอบโต้ข่าวสารที่เป็นเท็จ การส่งเสริมกิจกรรมองค์กรคาร์บอนต่ำ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการตรวจคัดกรองสุขภาพ จนท./อสส.ดับไฟป่า จำนวน 4,429 ราย Big Cleaning Day สถานที่ทำงาน โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ดำเนินกิจกรรมลดฝุ่น ภายในสถานที่ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน แผนเผชิญเหตุ เมื่อค่าฝุ่นวิกฤต(เกิน 500 มคก/ลบ.) โดยมีแผนแล้ว 18 แห่ง (100%) แผน Hybrid Working

ปฏิบัติตาม ประกาศ กอปภ.จ.ชร. วันที่ 16 มี.ค.67 เรื่อง มาตรการและลดผลกระทบกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานต่อเนื่อง แผนระบบรักษาพยาบาล Telemedicine จำนวน 6,720 ครั้ง ส่งยาที่บ้าน 695 ครั้ง และการซักซ้อมแผนเมื่อค่าฝุ่นวิกฤต (เกิน 500 มคก./ลบ.)



   
   


View 21    21/05/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ