วันเสาร์ ที่ 13 เมษายน 2567 เวลา 09.30 น. ดร.นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีมอบหมายดร.อุเทน หาแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีพร้อมด้วย งานอุบัติเหตุและสาธารณภัยกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อสุขภาพจิตและยาเสพติดเข้าร่วมประชุมรายงานสถานการณ์ สรุปวิเคราะห์เชิงลึกอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 12 เมษายน 2567 จำนวนครั้งเกิดเหตุ 4 ครั้ง (อ.เมือง1/อ.บ้านผือ2/อ.สร้างคอม1) บาดเจ็บ 4 คน เสียชีวิต 0 คน สะสมวันที่ 12 เมษายน 2567 จำนวนครั้งสะสม 6 ครั้ง บาดเจ็บสะสม 6 คน เสียชีวิตสะสม 0 คน รายงานผลการดำเนินงานดังนี้ 1.สรุปผลการดำเนินงานการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาสัมพันธ์ร้านค้า ตรวจ เตือน แนะนำ ตามพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองผู้มีอาการมึนเมาสุรา ณ ด่านชุมชน        3.กิจกรรมเคาะประตูบ้าน ตีปีกแมงขี้นาก สร้างการรับรู้การขับขี่ปลอดภัย ตามมาตรการ 3 ด่านประสานใจ ครอบครัวปลอดภัยทุกเทศกาล ข้อสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี โดยนางคณิตา ราษฎ์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกราต์ พ.ศ.2567 ร่วมกับศปถ.อำเภอ ผ่านระบบZoomMeeting ดังนี้1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนดำเนินการในพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง 2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่มีความปลอดภัย และปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด (Zoning) และประสานหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอดส่อง   เฝ้าระวัง ดูแลความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว 3. ให้ตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี ตำรวจภูธรทุกแห่งในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เน้นการควบคุม ดูแลการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ไม่จำหน่ายให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และในกรณีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ตรวจพบมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ขอให้มีการสืบสวนขยายผลไปยังสถานบันเทิง ร้านค้า บุคคล กลุ่มบุคคลที่มีส่วนส่งเสริมให้เด็กเยาวชนรายนั้นบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งทางตรง และทางอ้อมจนนำไปสู่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน   ให้นำตัวมาลงโทษตามกฎหมาย พร้อมทั้งยังคงมาตรการเปิดไฟวับวาปเพื่อเป็นการป้องปรามผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนอันเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย 4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับ “ด่านชุมชน” “ด่านครอบครัว” เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจตรา ป้องปราม ตักเตือนบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่อย่างเข้มข้น ในกรณีที่มีผู้กระทำผิดและไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนให้ประสานสถานีตำรวจภูธรที่ใกล้เคียงเพื่อดำเนินการตามกฎหมายและให้องค์กรปกครอง   ส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ใช้มาตรการเชิงรุก “เคาะประตูบ้าน”เข้าไปพูดคุย แนะนำ ตักเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง การใส่หมวกนิรภัยที่ถูกต้องการตรวจสอบความพร้อมของรถจักรยานยนต์ให้มีความปลอดภัย5ส. ในกรณี อำเภอ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งจุดบริการประชาชน ให้เลือกพื้นที่ที่มีการตั้งเต็นท์อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้เพิ่มความตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานประจำจุดบริการต่าง ๆ ด้วย 6. กรณีมีการปิดจุดกลับรถ ขอให้พื้นที่ประชาสัมพันธ์ จัดทำป้ายเตือน สัญลักษณ์ต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ขับขี่รับทราบและใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ อย่างปลอดภัย ณ ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)  อาคาร 1 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี



   
   


View 39    13/04/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ