อย. ย้ำ! ซื้อเครื่อง CPAP ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 36 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (21 มีนาคม 2567) ณ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สุขุมวิท 62 กรุงเทมหานคร แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย นายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ในการรณรงค์ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ และนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน : Sustainable Aviation Fuel (SAF) เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องสุขภาพอนามัยให้กับผู้บริโภค และเป็นการรณรงค์การไม่ทิ้งน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วสู่สิ่งแวดล้อม โดยมี นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย (นายนิพนธ์ เลิศทัศนีย์) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารโครงการ วิศวกรรมและโลจิสติกส์ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลผลการตรวจพบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารของหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 จำนวน 9 ประเภท ได้แก่ น้ำมันทอด เนื้อสัตว์ปรุงรส น้ำมันทอดปาท่องโก๋ น้ำมันทอดผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ น้ำมันทอดอาหาร น้ำมันทอดขนม น้ำมันทอดมันฝรั่ง น้ำมันทอดเนื้อสัตว์ น้ำมันทอดพืชผักผลไม้ และน้ำมันทอดขนมแป้ง จำนวน 5,764 ตัวอย่าง พบว่า ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5,081 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 88.15 และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 683 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 11.85 ซึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ น้ำมันทอดเนื้อสัตว์ปรุงรส น้ำมันทอดปาท่องโก๋ และน้ำมันทอดผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งมีสารโพลาร์อยู่ในระดับสูง ถึงร้อยละ 27.45, 20.12 และ 14.63 ตามลำดับ ซึ่งการพบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำในระดับสูง จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะน้ำมันถูกทอดซ้ำมากๆที่ความร้อนสูงเป็นระยะเวลานานทำให้เร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ทำให้เกิดสารประกอบโพลาร์ (Polar compounds) หรือสารโพลาร์ และสารประกอบโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAHs) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง อีกทั้ง ผู้ประกอบอาหารทอดอาหารที่มีการสูดดมไอระเหยของน้ำมันทอดอาหารเป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด
แพทย์หญิงอัจฉรา กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันทอดช้ำ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 (พ.ศ.2547) เรื่อง กำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย โดยกำหนดให้น้ำมันทอด หรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารโพลาร์ได้ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก หากฝ่าฝืน ถือเป็นการผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่ผิดมาตรฐานตามมาตรา 25 (3) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 347 (พ.ศ.2556) เรื่อง วิธีการผลิตอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ โดยกำหนดให้การผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายที่มีการใช้น้ำมันทอดช้ำ ผู้ผลิตอาหารต้องใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก หากฝ่าฝืน ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศซี่งออกตามมาตรา 6 (7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
“สำหรับการลงนามความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย และ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร เช่น ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารอาหารริมบาทวิถี ตระหนัก และไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ รวมทั้ง รวบรวมน้ำมันดังกล่าวซึ่งเป็นของเสียจากการทำอาหารมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดูแลสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ “ไม่ทอดซ้ำ” จะได้ใบรับรอง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเลือกซื้อว่าน้ำมันที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหารนั้น จะไม่ถูกนำกลับมาทอดซ้ำอีก” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 21 มีนาคม 2567